วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประวัติทางภาคตะวันออก



ภาคตะวันออกนอกจะมีกลุ่มใหญ่ที่เป็นคนไทยมาแต่เดิมแล้ว ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของคนหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวซอง ซึ่งเป็นชนเผ่าตระกูลมอญ-เขมร ที่อยู่ในเขตป่าเขา ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ประดิษเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เครื่องจักสาน มีกระบุง ตะกร้า และของป่าเอามาแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาหารกับคนในเมือง
ส่วนชาวญวน อพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐานสมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน อยู่ที่แถบบ้านท่าเรือจ้าง เป็นญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวจีนเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีบทบาทด้านการค้า เริ่มจากการค้าทางเรือสำเภามาตั้งแต่ในอดีต ชาวไทยมุสลิม อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส กลุ่มชนดังกล่าวมีวิถีชีวิตประสมประสานกับคนไทยพื้นถิ่น สื่อสารกันด้วยภาษา วัฒนธรรม และความเชื่อไปในแนวเดียวกัน ผสมกลมกลืน ไม่มีปัญหาขัดแย้งกันแต่อย่างใด ใช้ภาษาไทยอย่างเดียวกัน สำเนียงไทยภาคกลาง แต่จะมีเสียงเพี้ยนไปบ้าง ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา พื้นที่ของภาคตะวันออกมีขนาดเล็กกว่าภาคอื่น เดิมที่ภาคนี้เรียกรวมกับคนภาคกลาง แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งต่างไปจากภาคกลาง คือผลิตผลและภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ มีลักษณะเด่นเฉพาะ อาชีพในภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นพืชสวนพืชไร่ การประมง พืชสวนที่สำคัญได้แก่ เงาะ ส่วนพืชไร่ มี อ้อย มันสำปะหลัง และสับปะรด การประมงทำกันตามชายฝั่งโดยทั่วไป และมีการเลี้ยงกุ้งกันในบางจังหวัด ส่วนการทำนา มีในจังหวัดฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี นอกจากอาชีพดังกล่าว ในจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันแม้ว่าจำนวนพลอยดิบจะลดลงไปมาก แต่ก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเจียระไนพลอย ที่สำคัญ โดยการนำเอาพลอยต่างประเทศเข้ามาเจียระไน ด้านเศรษฐกิจ ในภาคนี้เศรษฐกิจก้าวหน้าไปอย่างมาก เพราะได้มีการสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นที่แหลมฉบัง ซึ่งขณะนี้มีโรงงานกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่อยู่แล้ว พร้อมกันนั้นยังมีนิคมอุตสาหกรรม สำหรับผลิตสินค้าออกยังต่างประเทศ และที่บริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้เน้นด้านอุตสาหกรรมเปโตรเคมี โดยการนำเอาก๊าซธรรมชาติที่พบในอ่าวไทย มาแปรสภาพเป็นสารที่ใช้ในการทำพลาสติก ทำวัสดุพีวีซี ชายฝั่งทะเลด้านนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวและหาดทราย ซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ จึงเป็นแหล่งที่ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นิยมมาพักผ่อนท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่พัทยา จังหวัดชลบุรี ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกมีเทือก เขาจันทบุรีทอดตัวไปทางตะวันตกจดกับเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งทอดยาวจากเหนือถึงใต้ เป็นเส้นแบ่งอาณาเขต ระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย มีแม่น้ำสาย สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำระยอง และแม่น้ำประแสร์ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ชายฝั่งทะเลที่เรียบยาวโค้งเว้า ท้องทะเลตะวันออกเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่ง ที่สำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ในภาคตะวันออก เกาะเสม็ด เกาะมัน จังหวัดระยอง เกาะล้าน เกาะสีชัง ในจังหวัดชลบุรี ส่วนบริเวณปากแม่น้ำเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนโคลนตม ที่แม่น้ำสายต่างๆ พัดพามา เป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิต จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และท้องทะเลที่กว้างใหญ่ มีโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งกำหนดให้ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนัก ที่ต้องใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นสนามบินของทหาร ใช้เป็นที่จอดเครื่องบินขณะร่วมซ้อมรบ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังใช้เป็นสนามบินสำหรับเครื่องบินเช่าเหมา ของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ภาคตะวันออกยังเป็นสุดยอดของแหล่งท่องเที่ยว ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากที่สุดด้วย ภาคตะวันออกปราการสำคัญของแผ่นดินสยาม ดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของสยาม ที่อุดมสมบูรณ์ ป้อมทางทะเลที่สำคัญของประเทศ
ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา และนครนายก ดินแดนที่อยู่เหนือสุดอยู่ที่เขาใหญ่ อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศกัมพูชา โดยมีแนวเทือกเขาบรรทัดเป็นพรมแดน ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุด คือ แหลมสารพัดพิษ อำเภอคลองใหญ่ ภาคตะวันออก
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ทางใต้สุดของภาคตะวันออก คือ แหลมสารพัดพิษ อำเภอคลองใหญ่ ภาคตะวันออก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ภาคตะวันออก มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาประกอบด้วย ภูเขาใหญ่น้อยหลายลูก โดยทอดตัวจากรอบ ตะเข็บของเขตแดน 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และจันทบุรี เข้าสู่ทางตอนเหนือ และทางตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี ที่เป็นเทือกเขาหินแกรนิตที่ แข็งแกร่งแทรกตัว ขึ้นมาสลับระหว่างหินชั้น นอกจากนี้ยังมีหินบะซอลต์ แทรกตัวขึ้นมา เป็นหย่อมๆ ซึ่งเป็นแหล่งแร่รัตนชาติ แม่น้ำบางประกงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของภาคตะวันออก ต้นน้ำ เกิดจากเทือกเจาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี ไหลผ่านจังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี เรียกว่า แม่น้ำปราจีนบุรี แล้วไหลลงสู่อ่าวไทยระหว่างอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี แม่น้ำบางปะกง ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี มีแควไหลมาบรรจบ 2 แคว คือ แควหนุมาน และแควพระปรง นับเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดของภาคตะวันออก เขตที่ราบในภาคตะวันออก ได้แก่ บริเวณที่ราบใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของภาค ต่อเนื่องกับที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของภาคกลาง ที่ราบนี้อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาสันกำแพงและ เทือกเขาจันทบุรี ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว นักภูมิศาสตร์ชาวต่างประเทศเรียกที่ราบนี้ว่า ฉนวนไทย หมายถึง พื้นที่ราบที่เชื่อมระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของภาคกลาง กับที่ราบต่ำเขมรในประเทศกัมพูชา ที่ราบดังกล่าวเป็นที่ราบดินตะกอน ที่แม่น้ำพัดมาทับถมกัน (alluvial plain) เนื่องจากบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางประกง เป็นที่ราบต่ำ โดยเฉพาะบริเวณตั้งแต่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ไปจนถึงปากแม่น้ำบางประกง จึงทำให้แม่น้ำบางปะกง ลดอัตราการไหลของน้ำลงอย่างมาก และไหลคดเคี้ยวมากจนเปลี่ยนทิศทาง
ผู้คนแถบภาคตะวันออกคล้ายคนภาคกลาง ค่อนไปทางปักษ์ใต้ แต่สำเนียงการพูดและภาษาท้องถิ่นมีคำสร้อยท้ายคำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ในเรื่องผิวพรรณอาจแตกต่างตรงขาวกว่า ส่วนบ้านเรือที่อยู่อาศัยคล้ายคลึงกันมาก บ้านเรือนเก่า ๆ นิยมปลูกเป็นเรือนไทยปั้นหยา พื้นบ้านยกใต้ถุนสูงเตี้ย ๆ และมีเสาปูนรองรับเสาบ้าน เพื่อกันความชื้นจากพื้นดินอีกที ทั้งมักปลูกอยู่ในลานทรายท่ามกลางดงมะพร้าว นอกจากนี้พืชพรรณที่ปลูกทำกิน เช่น มะพร้าว เงาะ ทุเรียน มังคุด สับปะรด และเมื่อมีการส่งเสริมให้ปลูกยางพาราที่นำพันธุ์มาจากภาคใต้ จังหวัดจันทบุรีหรือจังหวัดตราด มีบรรยากาศของสวนยางพาราเหมือนกับที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รสชาติอาหารการกินของชาวภาคตะวันออก จะคล้ายชาวภาคกลาง เพียงแต่จะเน้นอาหารทะเลมากขึ้น เนื่องจากอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ งานประเพณีของคนในภาคตะวันออกคือ งานบุญเช่นเดียวกับชนในภาคอื่น ที่ไปวัดทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา มีเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา งานสมโภชต้นศรีมหาโพธิ 200 ปี ที่จังหวัดปราจีนบุรี นอกจากนี้เป็นเทศกาลส่งเสริมผลผลิตของภูมิภาคนี้ งานเทศกาลเกี่ยวกับผลไม้มีชื่อแตกต่างกันไป แต่จัดต่อเนื่องกันทั้งจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง นอกจากนั้นมีประเพณีวิ่งควายและ งานเทศกาลพัทยาที่จังหวัดชลบุรี ส่วนจังหวัดระยองจัดงานวันเกาะแก้วพิสดาร และงานสุนทรภู่รำลึก ผู้คนภาคตะวันออกมีชาวไทยเชื้อสายจีนไม่น้อย ทั้งนี้เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชาวจีนอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร กระจายอยู่ร่วมกับคนไทยอย่างสันติ ในช่วงวันสำคัญชาวไทยเชื้อสายจีนก็ไหว้เจ้าในวันตรุษจีน วันสารทจีน วันเชงเม้ง รวมทั้งงานไหว้เจ้าตามศาลเจ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ้าแม่กวนอิมและเจ้าแม่ทับทิมที่จังหวัดชลบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น