วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประวัติแต่ละภาคในประเทศไทย

ประวัติทางภาคตะวันตก


พื้นที่ของภาคตะวันตกมีขนาดใหญ่ถัดจากภาคตะวันออกขึ้นมา แต่พื้นที่ในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและหุบเขาแคบ ๆ พื้นที่ที่เป็นที่ราบค่อนข้างกว้างคือบริเวณดินตะกอนรูปพัดในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดกาญจนบุรี และที่ราบชายฝั่งของจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี ภาคนี้ประกอบด้วยจังหวัด 5 จังหวัด คือ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ ประชากรพูดสำเนียงไทยภาคกลาง แต่จะมีเสียงเพี้ยนบ้างที่จังหวัดเพชรบุรี ส่วนที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์โดยเฉพาะอำเภอบางสะพานจะพูดสำเนียงคล้ายไทยทางภาคใต้ ชาวไทยในภาคตะวันตกแต่งกายเช่นเดียวกับชาวไทยในภาคกลาง เนื่องจากทางภาคตะวันตกเป็นจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับพม่าจึงมีชนกลุ่มน้อย ประกอบด้วยกะเหรี่ยง มอญ และพม่า เข้ามาอาศัยปะปนอยู่ตามบริเวณที่เป็นชายแดน
อาชีพในภาคตะวันตก ที่สำคัญได้แก่ การปลูกพืชไร่ แหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญของประเทศอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ส่วนการทำไร่สับปะรดทำกันมากในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี พืชทั้งสองชนิดมีโรงงานแปรรูปคือ โรงงานน้ำตาล และโรงงานสับปะรดกระป๋อง นับว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องครบวงจรช่วยให้เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ดีและมั่นคง การทำนาและทำสวนมีในจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี การเลี้ยงโคนมในจังหวัดราชบุรีกำลังได้รับการส่งเสริมและขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะความต้องการบริโภคโคนมในประเทศมากขึ้น เป็นที่น่าสังเกตว่าภาคตะวันตกมีลักษณะภูมิประเทศอำนวย จึงมีเขื่อนเก็บกักน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ถึงสามแห่ง คือ เขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตาก เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนเขาแหลมที่จังหวัดกาญจนบุรี นับได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำมากที่สุดของประเทศ นอกจากนั้นที่จังหวัดกาญจนบุรีมีการขุดพลอยที่อำเภอบ่อพลอยและมีการเจียระไนพลอยกัน แต่มีไม่มากเมื่อเทียบกับภาคตะวันออก
ภาคตะวันตกมีชายฝั่งทะเลในจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ และมีสถานที่ชายทะเลที่สำคัญคือ ชะอำและหัวหิน เนื่องจากชายฝั่งบริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จประพาสและทรงประทับอยู่ในเมืองเพชรบุรีเป็นเวลายาวนาน เพื่อฝึกซ้อมรบทางทะเลเพื่อประกาศพระเกียรติคุณของพระองค์ จังหวัดเพชรบุรีจึงได้ขอพระราชทานนามให้เรียกชายฝั่งแถบนี้ว่า ชายฝั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นการถวายพระราชสดุดีแด่พระองค์ท่าน ชายฝั่งนี้เริ่มตั้งแต่บริเวณหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ตลอดไปจนถึงอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประวัติทางภาคตะวันออก



ภาคตะวันออกนอกจะมีกลุ่มใหญ่ที่เป็นคนไทยมาแต่เดิมแล้ว ยังเป็นถิ่นที่อยู่ของคนหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวซอง ซึ่งเป็นชนเผ่าตระกูลมอญ-เขมร ที่อยู่ในเขตป่าเขา ใช้ชีวิตตามธรรมชาติ ประดิษเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากวัสดุในท้องถิ่น เช่น เครื่องจักสาน มีกระบุง ตะกร้า และของป่าเอามาแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า และอาหารกับคนในเมือง
ส่วนชาวญวน อพยพเข้ามา ตั้งถิ่นฐานสมัยใดไม่ปรากฏชัดเจน อยู่ที่แถบบ้านท่าเรือจ้าง เป็นญวนที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวจีนเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีบทบาทด้านการค้า เริ่มจากการค้าทางเรือสำเภามาตั้งแต่ในอดีต ชาวไทยมุสลิม อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันสืบเนื่องมาจากปัญหาการยึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส กลุ่มชนดังกล่าวมีวิถีชีวิตประสมประสานกับคนไทยพื้นถิ่น สื่อสารกันด้วยภาษา วัฒนธรรม และความเชื่อไปในแนวเดียวกัน ผสมกลมกลืน ไม่มีปัญหาขัดแย้งกันแต่อย่างใด ใช้ภาษาไทยอย่างเดียวกัน สำเนียงไทยภาคกลาง แต่จะมีเสียงเพี้ยนไปบ้าง ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา พื้นที่ของภาคตะวันออกมีขนาดเล็กกว่าภาคอื่น เดิมที่ภาคนี้เรียกรวมกับคนภาคกลาง แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งต่างไปจากภาคกลาง คือผลิตผลและภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ มีลักษณะเด่นเฉพาะ อาชีพในภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นพืชสวนพืชไร่ การประมง พืชสวนที่สำคัญได้แก่ เงาะ ส่วนพืชไร่ มี อ้อย มันสำปะหลัง และสับปะรด การประมงทำกันตามชายฝั่งโดยทั่วไป และมีการเลี้ยงกุ้งกันในบางจังหวัด ส่วนการทำนา มีในจังหวัดฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี นอกจากอาชีพดังกล่าว ในจังหวัดจันทบุรี ปัจจุบันแม้ว่าจำนวนพลอยดิบจะลดลงไปมาก แต่ก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเจียระไนพลอย ที่สำคัญ โดยการนำเอาพลอยต่างประเทศเข้ามาเจียระไน ด้านเศรษฐกิจ ในภาคนี้เศรษฐกิจก้าวหน้าไปอย่างมาก เพราะได้มีการสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นที่แหลมฉบัง ซึ่งขณะนี้มีโรงงานกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่อยู่แล้ว พร้อมกันนั้นยังมีนิคมอุตสาหกรรม สำหรับผลิตสินค้าออกยังต่างประเทศ และที่บริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้เน้นด้านอุตสาหกรรมเปโตรเคมี โดยการนำเอาก๊าซธรรมชาติที่พบในอ่าวไทย มาแปรสภาพเป็นสารที่ใช้ในการทำพลาสติก ทำวัสดุพีวีซี ชายฝั่งทะเลด้านนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวและหาดทราย ซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ จึงเป็นแหล่งที่ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นิยมมาพักผ่อนท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่พัทยา จังหวัดชลบุรี ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกมีเทือก เขาจันทบุรีทอดตัวไปทางตะวันตกจดกับเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งทอดยาวจากเหนือถึงใต้ เป็นเส้นแบ่งอาณาเขต ระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย มีแม่น้ำสาย สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำระยอง และแม่น้ำประแสร์ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ชายฝั่งทะเลที่เรียบยาวโค้งเว้า ท้องทะเลตะวันออกเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่ง ที่สำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ในภาคตะวันออก เกาะเสม็ด เกาะมัน จังหวัดระยอง เกาะล้าน เกาะสีชัง ในจังหวัดชลบุรี ส่วนบริเวณปากแม่น้ำเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนโคลนตม ที่แม่น้ำสายต่างๆ พัดพามา เป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิต จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และท้องทะเลที่กว้างใหญ่ มีโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งกำหนดให้ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนัก ที่ต้องใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นสนามบินของทหาร ใช้เป็นที่จอดเครื่องบินขณะร่วมซ้อมรบ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังใช้เป็นสนามบินสำหรับเครื่องบินเช่าเหมา ของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ภาคตะวันออกยังเป็นสุดยอดของแหล่งท่องเที่ยว ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากที่สุดด้วย ภาคตะวันออกปราการสำคัญของแผ่นดินสยาม ดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของสยาม ที่อุดมสมบูรณ์ ป้อมทางทะเลที่สำคัญของประเทศ
ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์ นครราชสีมา และนครนายก ดินแดนที่อยู่เหนือสุดอยู่ที่เขาใหญ่ อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศกัมพูชา โดยมีแนวเทือกเขาบรรทัดเป็นพรมแดน ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุด คือ แหลมสารพัดพิษ อำเภอคลองใหญ่ ภาคตะวันออก
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ทางใต้สุดของภาคตะวันออก คือ แหลมสารพัดพิษ อำเภอคลองใหญ่ ภาคตะวันออก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และอ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกสุดอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ภาคตะวันออก มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาประกอบด้วย ภูเขาใหญ่น้อยหลายลูก โดยทอดตัวจากรอบ ตะเข็บของเขตแดน 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และจันทบุรี เข้าสู่ทางตอนเหนือ และทางตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี ที่เป็นเทือกเขาหินแกรนิตที่ แข็งแกร่งแทรกตัว ขึ้นมาสลับระหว่างหินชั้น นอกจากนี้ยังมีหินบะซอลต์ แทรกตัวขึ้นมา เป็นหย่อมๆ ซึ่งเป็นแหล่งแร่รัตนชาติ แม่น้ำบางประกงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของภาคตะวันออก ต้นน้ำ เกิดจากเทือกเจาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี ไหลผ่านจังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี เรียกว่า แม่น้ำปราจีนบุรี แล้วไหลลงสู่อ่าวไทยระหว่างอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี แม่น้ำบางปะกง ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี มีแควไหลมาบรรจบ 2 แคว คือ แควหนุมาน และแควพระปรง นับเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดของภาคตะวันออก เขตที่ราบในภาคตะวันออก ได้แก่ บริเวณที่ราบใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของภาค ต่อเนื่องกับที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของภาคกลาง ที่ราบนี้อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาสันกำแพงและ เทือกเขาจันทบุรี ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว นักภูมิศาสตร์ชาวต่างประเทศเรียกที่ราบนี้ว่า ฉนวนไทย หมายถึง พื้นที่ราบที่เชื่อมระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของภาคกลาง กับที่ราบต่ำเขมรในประเทศกัมพูชา ที่ราบดังกล่าวเป็นที่ราบดินตะกอน ที่แม่น้ำพัดมาทับถมกัน (alluvial plain) เนื่องจากบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางประกง เป็นที่ราบต่ำ โดยเฉพาะบริเวณตั้งแต่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ไปจนถึงปากแม่น้ำบางประกง จึงทำให้แม่น้ำบางปะกง ลดอัตราการไหลของน้ำลงอย่างมาก และไหลคดเคี้ยวมากจนเปลี่ยนทิศทาง
ผู้คนแถบภาคตะวันออกคล้ายคนภาคกลาง ค่อนไปทางปักษ์ใต้ แต่สำเนียงการพูดและภาษาท้องถิ่นมีคำสร้อยท้ายคำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ในเรื่องผิวพรรณอาจแตกต่างตรงขาวกว่า ส่วนบ้านเรือที่อยู่อาศัยคล้ายคลึงกันมาก บ้านเรือนเก่า ๆ นิยมปลูกเป็นเรือนไทยปั้นหยา พื้นบ้านยกใต้ถุนสูงเตี้ย ๆ และมีเสาปูนรองรับเสาบ้าน เพื่อกันความชื้นจากพื้นดินอีกที ทั้งมักปลูกอยู่ในลานทรายท่ามกลางดงมะพร้าว นอกจากนี้พืชพรรณที่ปลูกทำกิน เช่น มะพร้าว เงาะ ทุเรียน มังคุด สับปะรด และเมื่อมีการส่งเสริมให้ปลูกยางพาราที่นำพันธุ์มาจากภาคใต้ จังหวัดจันทบุรีหรือจังหวัดตราด มีบรรยากาศของสวนยางพาราเหมือนกับที่จังหวัดนครศรีธรรมราช รสชาติอาหารการกินของชาวภาคตะวันออก จะคล้ายชาวภาคกลาง เพียงแต่จะเน้นอาหารทะเลมากขึ้น เนื่องจากอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ งานประเพณีของคนในภาคตะวันออกคือ งานบุญเช่นเดียวกับชนในภาคอื่น ที่ไปวัดทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา มีเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา งานสมโภชต้นศรีมหาโพธิ 200 ปี ที่จังหวัดปราจีนบุรี นอกจากนี้เป็นเทศกาลส่งเสริมผลผลิตของภูมิภาคนี้ งานเทศกาลเกี่ยวกับผลไม้มีชื่อแตกต่างกันไป แต่จัดต่อเนื่องกันทั้งจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง นอกจากนั้นมีประเพณีวิ่งควายและ งานเทศกาลพัทยาที่จังหวัดชลบุรี ส่วนจังหวัดระยองจัดงานวันเกาะแก้วพิสดาร และงานสุนทรภู่รำลึก ผู้คนภาคตะวันออกมีชาวไทยเชื้อสายจีนไม่น้อย ทั้งนี้เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชาวจีนอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร กระจายอยู่ร่วมกับคนไทยอย่างสันติ ในช่วงวันสำคัญชาวไทยเชื้อสายจีนก็ไหว้เจ้าในวันตรุษจีน วันสารทจีน วันเชงเม้ง รวมทั้งงานไหว้เจ้าตามศาลเจ้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ้าแม่กวนอิมและเจ้าแม่ทับทิมที่จังหวัดชลบุรี

ประวัติทางภาคใต้


ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด ไดแก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และ สุราษฎร์ธานี พื้นที่ภาคใต้ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยท้องทะเลอ่าวไทยทางตะวันออก และทะเล อันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม70.715.2 ตารางกิโลเมตร จังหวัดที่ใหญ่ที่สุดคือ สุราษฎร์ธานีและจังหวัดที่เล็กที่สุดคือ ภูเก็ต ทุกจังหวัดมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลยกเว้น จังหวัดยะลา

ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วยพื้นที่ราบป่าไม้ ภูเขา หาดทราย น้ำตก ถ้ำ ทะเลสาบ และกลุ่มเกาะในท้องทะเลทั้งสองฝั่งมีเทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช โดยมีเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็น พรหมแดนกั้นระหว่างไทยกับมาเลเซียรวมความยาวของเทือกเขาภาคใตทั้งหมดกว่า 1.000 กิโลเมต มีแม่น้ำสายสำคญได้แก่แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำท่าทอง เป็นต้น ชายหาดทางฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูงขึ้น จึงมีที่ราบชายฝั่งทะเลเรียบกว้าง น้ำตื้น ส่วนทางด้านทะเลอันดามั น เป็นลักษณะของชายฝั่งทะเลยุบตัวลง มีที่ราบน้อยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนเนื่องจากอิธิพลจึงทำให้มีฝนชุกตลอดทั้งปี

ตามหลักฐานทางโบราณคดี
ได้ระบุว่าแหลมมลายูเป็นศูนย์กลางของการค้ามานาน และมีเมืองที่เจริญรุ่งเรืองหลายแห่ง อาณาจักรศรีวิชัย มีราชธานีอยู่ในเกาะสุมาตรา เป็นอาณาจักรแรกที่มีเรื่องราวเกี่ยวพันกับดิแดนแหลมมลายู โดยมีประเทศราชบนแหลมมลายูหลายประเทศ พลเมืองนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งได้เผยแพร่มาในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13

สภาพทางภูมิศาสตร์
ทำให้ภาคใต้มีความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียอาคเนย์มาตลอด ประชากรทางภาคใต้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่กาแฟ มีสวนยางพารา มีสวนมะพร้าว สวนผลไม้ต่างๆๆ ทำการประมงน้ำลึก และประมงชายฝั่ง การทำนากุ้ง เลี้ยงหอยมุก ส่วนผลงานด้านหัตถกรรม ได้อก่ ผ้า เกาะยอ ผ้าเบติกเป็นต้น
ประวัติทางภาคกลาง



ภาคกลาง เป็นศูนย์กลางการปกครองของสยามประเทศ อาณาบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่ สถานที่ตั้งของราชธานีแห่งสยามประเทศทั้ง กรุงศรีอยุธยา
กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ ดินแดนที่สะท้อนภาพความรุ่งเรืองของอารยธรรมสยาม พื้นที่ราบอันกว้างใหญ่ของภาคกลาง แบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือที่ราบดินตะกอน และที่ราบซึ่งเกือบไม่มีดินตะกอนเลย
ที่ราบใหญ่ภาคกลาง มีขนาดกว้าง ประมาณ 50 - 150 กิโลเมตร ยาวประมาณ 300 กิโลเมตร แบ่งออกได้เป็น 5 ตอนด้วยกันคือ ตอนบนเป็นพื้นที่ราบ ซึ่งมีลักษณะเป็นลุ่มแอ่งน้อย ๆ ตั้งอยู่ในระหว่างย่านภูเขาทางเหนือ มีทิวเขาถนนธงชัยอยู่ทางด้านทิศตะวันตก และทิวเขาเพชรบูรณ์อยู่ทางด้านทิศตะวันออก พื้นที่ตอนกลางระหว่างทิวเขาทั้งสองเป็นที่ลุ่ม
มีระดับสูงประมาณ 3 - 4 เมตร จากระดับน้ำทะเล แต่ทางตอนใต้บริเวณ จังหวัดชัยนาท เป็นที่ค่อนข้างดอน มีความสูงประมาณ 18 เมตร จากระดับน้ำทะเล ตอนล่างเป็นพื้นที่ราบ ซึ่งมีความลาดจาก จังหวัดชัยนาทลงไปทางใต้ ลงสู่ทะเลที่อ่าวไทยพื้นที่ต่ำสุดอยู่ตอนกลาง ซึ่งเป็นรางของลำน้ำ พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก จะมีความลาดลงมาน้อย ๆ จากแนวทิวเขา มีระดับสูง 18 เมตร ที่ชัยนาท 4 เมตรที่อยุธยา และ 1.8 เมตรที่กรุงเทพ ฯ ที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสัก เป็นที่ราบแคบ ๆ ในภาคกลาง คั่นอยู่ระหว่างที่ราบใหญ่ภาคกลาง กับที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบแคบ ๆ และยาวอยู่ระหว่างหุบเขาของทิวเขาเพชรบูรณ์ กับทิวเขาเลย ภาคกลาง เป็นดินแดนแห่งอารยธรรมที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 11-16 ยุคที่ชนชาติมอญครอบครองดินแดนแถบนี้ จากนั้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ชนชาติขอมหรือ เขมรก็เข้ามาเรืองอำนาจ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลพบุรี และขยายอาณาเขตออกไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี เพชรบุรี และสิงห์บุรี ในพ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมืองขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และต่อมาได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่บริเวณตำบล หนองโสนหรือบึงพระราม นับตั้งแต่นั้นมากรุงศรีอยุธยาก็เจริญรุ่งเรืองเป็นบึกแผ่น มีการขยายอาณาเขตและติดต่อ ค้าขายกับชาวตะวันตก ได้แก่ โปรตุเกส ฝรั่งเศส ฮอลันดา และอังกฤษ รวมถึงการรับอารยธรรมตะวันตกด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ ก็ได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในดินแดนแถบนี้ ด้วยความที่เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ มีประชากรหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ จึงก่อให้เกิดงานศิลป์ผสมผสานที่งดงาม ตามวัดวาอารามต่างๆ เป็นมรดกของประเทศสืบทอดมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน และบางแห่งทรงคุณค่าจนได้รับการ ยกย่องให้เป็นมรดกของโลกที่ต้องรักษาไว้ชื่นชมร่วมกันตราบนานเท่านาน อีกทั้งวัฒนธรรมประเพณีและการละเล่นต่างๆ ซึ่งยังคงมีให้ชมได้ในหลายพื้นที่ของจังหวัดในภาคกลาง เช่น ระบำชาวไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย เพลงอธิษฐาน เพลงเหย่ย เพลงแม่ศรี เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงลำตัด เพลงปรบไก่ เพลงอีแซว กลองยาว และลิเก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงในราชสำนักที่ภายหลังได้นำออกเผยแพร่ทั่วไป เช่น โขน ละคร หนังใหญ่ หุ่นกระบอก และดนตรีไทย จากสภาพภูมิประเทศของภาคกลางยังเอื้ออำนวย ต่อกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมากมาย ได้แก่ ภูเขาใหญ่น้อย หลายแห่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำอันสวยงาม มีพื้นที่ป่าชุ่มชื้นเป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลรวมเป็นน้ำตก มีเกาะแก่งกลางลำน้ำ และ ด้วยเหตุผลที่ภาคกลางเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง คือ กรุงเทพมหานคร จึงเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของประเทศ ภูมิภาคนี้มีพื้นที่เป็นรองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ เพราะมีลำน้ำสำคัญไหลผ่านภาคนี้คือแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งพื้นที่เป็นที่ราบ เมื่อมีน้ำจึงทำการเกษตรกรรมได้ดี นอกจากนั้นพื้นที่ในภาคกลางได้รับการพัฒนา ในด้านการชลประทานที่ครอบคลุมพื้นที่กว้าง จึงทำให้เกษตรกรสามารถทำนาและปลูกพืชได้เกือบตลอดปี ประชากรในภูมิภาคนี้มีความคุ้นเคยกับการเกษตรเพื่อการค้า นอกจากปลูกข้าวแล้วมีการปลูกพืชผลไม้ได้หลายอย่าง การเพาะปลูกทำอย่างทันสมัยและได้คุณภาพ นอกจากนั้นยังอยู่ใกล้แหล่งตลาดที่บริโภคคือกรุงเทพมหานคร หรือแม้แต่ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศก็ทำได้สะดวก จึงทำให้ภาคนี้มีความได้เปรียบในทุก ๆ ด้าน ประชากรพูดภาษาไทยสำเนียงภาคกลาง บางท้องถิ่นอาจเพี้ยนไปจากสำเนียงไทยภาคกลางที่กรุงเทพฯ เล็กน้อย การแต่งกายแต่ดั้งเดิมหญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน ภายหลังเปลี่ยนมานุ่งผ้าซิ่นยาวถึงข้อเท้า สวมเสื้อแขนสามส่วนเอวปล่อย ส่วนชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อคอกลม อย่างไรก็ตามการแต่งกายในภาคกลางได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสมัยนิยม ปัจจุบันมีชุดไทยพระราชนิยม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เมื่อมีงานพิธีหรือในโอกาสพิเศษ อาชีพในภาคกลาง ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูก คือการทำนา แต่จะมีอาชีพอย่างอื่นอีกมาก เช่น การทำไร่ข้าวโพด ข้าวฟ่าง การทำสวนผัก สวนผลไม้ เช่น สวนส้ม ส้มโอ มะขามหวาน มะม่วง การเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงสุกร วัวเนื้อ วัวนม ไก่เนื้อ ไก่ไข่ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีการอุตสาหกรรมต่าง ๆ การค้า งานบริการ ล้วนแต่เป็นอาชีพสำคัญ กรุงเทพมหานครเป็นนครที่ใหญ่โตมีประชากรมาก รวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกอย่างไว้ และขณะเดียวกันก็รวมเอาปัญหาสารพัดอย่างไว้ด้วย เช่น ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพย์ติด การจราจรติดขัด มลพิษทั้งอากาศและน้ำ ภาคกลางจึงเป็นศูนย์รวมทางเศรษฐกิจทุกด้าน ดังนั้นประชากรในเขตนี้โดยเฉลี่ยจึงมีความเป็นอยู่ดีกว่าประชากรในเขตอื่น ขณะที่ประทศเริ่มมีผลิตผลทางอุตสาหกรรมมากขึ้น การขยายตัวได้เริ่มจากภาคนี้และทำให้ในปัจจุบันมูลค่าการส่งออก ของผลิตผลทางอุตสาหกรรมมีมากกว่ามูลค่าการส่งออกของผลิตผลทางด้านเกษตรกรรม ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราส่งสินค้าทางการเกษตรน้อยลง แต่เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบมูลค่าระหว่างสองกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภาคกลางเป็นแหล่งอาชีพที่สำคัญจึงพบว่าประชากร ในภูมิภาคอื่นได้อพยพมาหางานในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและบริเวณใกล้เคียง นอกจากประชากรในประเทศเราแล้วยังมีคนต่างประเทศ เช่น กัมพูชา พม่า ลาว บังกลาเทศ ได้พยายามแอบมาหางานทำในภูมิภาคนี้ จึงนับได้ว่าภาคกลางเป็นภาคที่ก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจกว่าภูมิภาคอื่นๆ

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552



ประวัติของภาคเหนือ

ภาคเหนือของประเทศไทย เป็นดินแดนที่ปรากฎหลักฐานการต้งแต่การตั้งถิ่นฐานของ มนุษย์ที่ต่อเนื่องยาวนานนับหมื่นปี ต่อมาได้พัฒนาเป็นบ้านมืองขนาดใหญ่หลายเมือง เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ และน่าน ภายหลังบ้านเมืองเหล่านี้ได้ ร่วมกันก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านนา ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ใหญ่และสำคัญในภาคเหนือ
ภาคเหนือมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน อันเป็นต้นกำเนิด ของแม่น้ำสายสำคัญๆ ในภาคกลาง แควใหญ่น้อยในภาคเหนือทำให้เกิดที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างหุบเขาอันอุดมสมบูณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ราษฎรส่วนใหญ่จึงรวมตัว อยู่ในเขตนี้โดยการประกอบอาชีพ เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และทำเหมืองแร่ นอกจาก นี้ทรัพยารธรรมชาติยังเอื้ออำนวยให้กิดอุตสาหกรรมในครัวเรือนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมาช้านาน
ตำนานประวัติโบราณล้านนา
เขียน ณ กองโบราณคดี เมื่อเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2523
โดยนายคงเดช ประพัฒน์ทอง (2508 - 2529)

ถ้าเราจะพึงสำรวจดูกระแสคลื่นวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายกระจายออกมาจากประเทศอินเดียเข้าสู่ดินแดนเอเชียอาคเนย์โดยทั่วไปแล้ว พอจะยุติได้ว่าไม่เคยพบเห็นวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาแห่งใดจะเก่าก่อนเกินไปกว่ากาลเวลาของพุทธศิลปะอมราวดีหรือ อนุราธปุระ ในประเทศศรีลังกา บัดนี้ อายุราว พุทธศตวรรษที่ 7 - 9 เป็นที่สุด
การที่ยุติเช่นนั้นเป็นการตีคลุมกาลเวลาไว้อย่างคราว ๆ มิได้หมายความลงไปว่าในภาคเหนือของประเทศไทยจะได้ค้นพบพุทธศิลปะอมราวดี หรืออนุราธปุระดังกล่าวไปด้วย เพราะเท่าที่ค้นพบพระพุทธรูปอมราวดี หรืออนุราธปุระในประเทศไทยแล้ว ก็พบว่ามีอยู่ที่ภาคกลางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้เท่านั้น การที่กล่าวถึงพุทธศิลปะอมราวดีที่ค้นพบในประเทศไทยไว้ด้วยในที่นี้ ก็ต้องากรชี้นำถึงหลักฐานอันเก่าแก่ที่สุดแห่งกาลเวลาที่จะนำมายืนยันได้ในข้อมูลทางวิชาการโบราณคดี ประกอบการพิจารณาเพื่อมิให้ขอบเขตแห่งการวินิจฉัยล้ำเลย พุทธศตวรรษที่ 7 - 9 ออกไปนั่นเอง เพราะในปัจจุบันนี้มีท่านผู้รู้ทางวิชาการของแต่ละท่านเป็นสำคัญดังนั้นข้อยุตินี้เป็นเพียงแนวทางโบราณคดีส่วนเดียว

นอกจากนี้แล้ว ประเทศไยของเรายังมีขอบเขตจำกัดไว้ด้วยพุทธศิลปะสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11 - 16 ซึ่งพุทธศิลปะทวารวดีนั้นกระจายอยู่ทั่วไปในภาคกลาง และภาคอีสานของประเทศ หรือแม้แต่ทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ตาม แต่ถึงจะเรียกพุทธศิลปะทางภาคใต้เป็น ศรีวิชัย แล้วก็จริง แต่พุทธศิลปะศรีวิชัยนั้นยังร่วมกาลเวลาในขอบเขตกำหนดของพุทธศิลปะทวารวดีอยู่อีกด้วย เพราะท่านผู้รู้กำหนดอายุพุทธศิลปะศรีวิชัยไว้ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13 - 18 ฉะนี้
ท่านผู้ใดก็ตามเมื่อได้พบเห็นบทความนี้ อาจจะนึกตำหนิผู้เรียบเรียงประวัตอารยธรรมวัฒนธรรมล้านนาบ้างก็ได้ว่า ทำไมจึงต้องอ้างอิงขอบเขตกาลเวลาของพุทธศิลปะอมราวดีพุทธศิลปะทวารวดี และพุทธศิลปะศรีวิชัย ซึ่งไมเห็นจะเกี่ยวข้องอันใดกับอารยธรรมวัฒนธรรมล้านนาที่จะกล่าวถึงอยู่บัดนี้
ก็จำเป็นต้องชี้แจงสืบไป การที่ต้องกล่าวถึงเพราเหตุที่ว่า บรรดาหลักฐานของเรื่องประวัติอารยธรรมวัฒนธรรมล้านนานั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในตำนานประวัติอย่างที่เรียกกันว่า พงศาวดารเหนือ ตำนานต่าง ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยส่วนมากจะผูกพันอยู่กับพระพุทธศาสนา เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ อ้างถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ต้น ๆ แต่ครั้งปฐมภัทรกัปป์ เช่น พระเจ้ากกุสันโธ เป็นต้น อันรู้ไม่ได้ด้วยเกณฑ์แห่งกาลเวลา อย่างพุทธศาสนา หรือพุทธสตวรรษที่เรากำหนดรู้กันบัดนี้ เราเพื่อไม่ให้ล่วงเลยขอบเขตของพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 4 ของเราขึ้นไป และไม่ต้องการให้เกินสมัยพุทธศิลปะที่กระทำพระพุทธรูปที่บังเกิดขึ้นในความรอบรู้ของเราทั้งหลาย ดังที่รับรองกันอยู่บัดนี้ เพราเราท่านมักเข้าใจดีอยู่แล้วว่าพระพุทธรูปสมัยแรกในโลกได้แก่พระพุทธรูปในศิลปะคันธารราฐ แต่ราวพุทธศตวรรษที่ 6 - 10
ในเรื่องสิหิงคนิทาน ท่านกล่าวถึงกาลบังเกิดแห่งพระพุทธสิหิงค์ไว้ว่า หล่อขึ้นที่ลังการาว พ.ศ. 700 หรือในเรื่องรัตนพิมพวงษ์ ตำนานพระแก้วมรกตทางภาคเหนือของประเทศไทยได้อ้างถึงการสร้างพระแกวมรกตไว้ว่า เมื่อพระยามิลินท์ ได้สนทนาธรรมปุจฉาวิสัชนากับพระนาคเสนเถรเจ้าแล้ว พระองค์ทรงเลื่อมในในพระพุทธศาสนา ครั้งนั้นพระอินทร์จึงให้พระวิษณุกรรมนายช่างสวรรค์แห่งดาวดึงส์นิรมิตแท่งแก้วมรกตให้เป็นองค์พระพุทธรูป แล้วนำมาถวายแด่พระนาคเสน เรื่องของพระยามิลินท์นั้นก็มีหลักฐานแน่ชัดว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกที่ครอบครองบ้านเมืองอยู่ในอินเดียเหนือแถวแคว้นคันธารราฐ ในระหว่าง พ.ศ. 400 เศษ ถึง พ.ศ. 500 ได้ค้นพบเหรียญจารึกพระนามของพระองค์ไว้เป็นภาษากรีกและอักษรกรีกว่า เมนันเดอร์ ด้วยเหตุนี้เราก็จะต้องรับว่าพระแก้วมรกตตามตำนานดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปในสมัยพระยามิลินท์ หรือพระนาคเสน ในแคว้นคันธารราฐจากประเทศอินเดียโน่น ทั้ง ๆ ที่ในสมัยของพระยามิลินท์หรือเมนันเดอร์นันยังมีพระพุทธรูปบังเกิดขึ้นในแคว้นคันธารราฐเลย และด้วยเหตุนี้พระแก้วมรกตของเราก็ต้องเป็นต้นแบบให้แก่พระพุทธรูปในศิลปคันธารราฐไปด้วย
ดังข้อชี้แจงที่กล่าวมานี คงจะเข้าใจได้บ้างว่า จำเป็นอย่างไรที่ต้องกล่าวเท้าความไปถึงบรรดาพุทธศิลปะที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทย ย่อมขึ้นอยู่กับเหตุผลทางวิชาการโบราณคดีเป็นประมาณ หากมิใช่เช่นนั้นแล้วร่องรอยทางอารยธรรมวัฒนธรรมจองประเทศไทยเราจะเก่าก่อนเกินกว่าขอบเขตทางวิชาการใด ๆ จะเข้าไปยุติได้ หากไม่กำหนดขอบเขตไว้ ในที่นี้ด้วยแล้ว กาลเวลาแห่งอารยธรรมวัฒนธรรมทางภาคเหนือของประเทศไทย บางทีจะล้ำเลยเส้นวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้าไปหาสมัยพระพุทธกาล คือสมัยที่พระพุทธองค์ยังดำรงพระชนชีพอยู่ก็เป็นได้ และนั่นแหละจะเป็นกาลเวลาแหงสังคมบุรพกาลในประเทศไทยที่เรียกว่า ก่อนประวัติศาสตร์ อันเป็นสมัยหรือยุคของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ทีเดียว
บรรดาเอกสารโบราณในล้านนาที่เป้ฯตำนานต่าง ๆ ล้วนแต่บังเกิดขึ้นในคติทางพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์ทั้งสิ้น ตำนานทั้งปวงสัมพันธ์กับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งที่เป็นพระอทิพุทธ หรือพระอรหันตสาวก เสมอ เราจึงไม่อาจยุติตามตำนานที่อ้างไว้อย่างนั้นได้ มีเอกสารโบราณที่พระภิกษุชาวล้านนา ได้ประพันธ์ขึ้นไว้เป็นภาษาบาลี คือท่านพระพธิรังสีเจ้าอาวาสวัดมหาโพธาราม (วัดเจดีย์ 7 องค์ แห่งเชียงใหม่ ท่านผู้นี้รจนา สิหิงคนิทานและจามเทวีวงศ์ และอีกท่านหนึ่งได้แก่ ท่านรัตนปัญญา ได้รจนาชินกาลมาลีปกรณ์ บางทีท่านอาจเป็นชาวหริภุญัย หรือลำพูนก็ได้ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ล้วน แต่เป็นที่มาแห่งตำนานประวัติโบราณล้านนาได้ทั้งสิ้น นอกจากนั้นยังมีตำนานสิงหนวัติกุมาร และตำนานหิรัญนครเงินยางเชียงแสน และพงศาวดารเมืองพะเยา ฯลฯ
เรื่องสิงหนวติกุมาร เป็นเอกสารโบราณที่มีร่องรอยทำท่าว่าจะเป็นการเริ่มต้นสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำกก และแม่น้ำโขง พระเจ้าสิงหนวัติ ทรงเป็นเชื้อสายกษัตริย์ อพยพออกจากบ้านเมืองเดิมของพระองค์มาแสวงหาทำเลสร้างบ้านเมืองในดินแดนลุ่มน้ำแม่กก คือเมืองโยนกนคร ฯ ดังที่พงศาวดารโยนกพรรณนาไว้อย่างถี่ถ้วนยิ่ง กาลเวลาของเมืองโยนกนี้ มีท่านผู้รู้พิจารณากำหนดไว้ว่าราวพุทธศตวรรษที่ 5 เป็นการเริ่มต้นประวัติอารยธรรมวัฒนธรรมล้านนา แต่โดยเหตุที่เมืองนี้ได้ถล่มจมลงไปทั้งเมืองจึงไม่พบเห็นหลักฐานอันใดที่จะนำมายืนยันชี้ชัดลงไปได้ คงมีแต่เอกสารตำนานส่วนเดียว แม้แต่เรื่องพระเจ้าพรหม ก็อยู่ในหลักฐานดังกล่าวนี้ด้วย
จามเทวีวงศ์ ตำนานนี้กล่าวถึงพระนางจามเทวี ธิดากษัตริย์พระเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี) เสด็จขึ้นไปครองหริภุญชัยนคร เป็นปฐมกษัตริย์พระองค์แรกแห่งสายตระกูบจามเทวี แต่เรื่องนี้มีความพันธ์กับดินแดนตอนใต้ คือ ลพบุรี ในราวพุทศตวรรษที่ 13 เพราะพระนางครองราชย์ ณ เมืองหริภุญไชย เมื่อปี พ.ศ. 1206 ระยะเวลานี้ยังเป็นขอบเขตของทวารวดีในประเทศไทย
เมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ตำนานเรื่องนี้น่าสนใจยิ่ง เพราเป็นการเริ่มต้นบรรพบุรุษของพระยามังวราย ทางแถบลุ่มแม่น้ำสาย และดอยตุง ลักษณะตำนานนี้มีความเป้ฯท้องถิ่นอยู่มาก แม้จะได้รับการปรับปรุงไปในรูปพงศาวดารแล้วก็ตาม ชื่อนามบุคคลยังได้เน้นถึงความเป้ฯพื้นเมืองหรือพื้นบ้านได้ดีเช่น ปู่เจ้าลาวจก ลาวเคียง ลาวเก้าแก้วมาเมือง หรือลาวคอบ การเริ่มต้นของบ้านเมืองในตำนานนี้ว่า ราว พ.ศ. 1182 หรือราวพุทธศตวรรษที่ 12
จากเอกสารโบราณที่เป้ฯตำนานทั้ง 3 เรื่องที่ยกมา เราจะเห็นว่าร่องรอยที่บรรพชนทั้งนั้นได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่ในบริเวณที่แตกต่างกันกล่าวคือ
1. เมืองโยนกนคร อยู่ทางแถบลุ่มแม่น้ำกก
2. เมืองหริภุญไชยนครคือ ลำพูน ตั้งอยู่ทางลุ่มแม่น้ำปิง
3. เมืองหิรัญนครเงินยาง เชียงแสน อยู่ทางแม่น้ำสาย และแม่น้ำโขง
ทั้งนี้ หมายความว่า กลุ่มเมืองทั้งสามแห่งในดินแดนทั้งสามหรือสี่แม่น้ำนั้น ได้บังเกิดขึ้นในรอบพุทศตวรรษที่ 12 -13 ร่วมกันยิ่งกว่าจะเป็นพุทธศตวรรษที่ 5 เพราะขอบเขตทางพระพุทธศาสนายังไม่ควรเจ้ามามีบทบาทแพร่หลายในดินแดนเอเชียอาคเนย์ดังนั้นเมืองโยนกนครก็ไม่ควรจะเกินพุทธศตวรรษที่ 12 ขึ้นไป
แม้ว่าจะพยายามพิจารณาเนื้อความจากตำนานดังกล่าวมาให้เก่าก่อนขึ้นไปถึงพุทธศตวรรษที่ 12 หรือ 13 ได้แล้ว แต่เมื่อจะบ่งถึงข้อมูลทางโบราณคดีที่ค้นพบในดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทยต่าง ๆ ในทางวัฒนธรรมของพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ก็ยังไม่พบร่องรอยวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาอันเก่าแก่ขึ้นไปถึงพุทธศตวรรษที่ 13 ได้ ในดินแดนกลุ่มเมืองทั้งสามแห่งที่กล่าวมานั้น ร่องรอยทางพระพุทธศาสนาที่ค้นพบในภาคเหนือของประเทศไทย ที่เก่าแก่ที่สุดได้แก่ อารยธรรมวัฒนธรรมที่จังหวัดลำพูน แถบลุ่มแม่น้ำปิง ทุกวันนี้มีหลักฐานทางโบราณคดีอันเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และเป็นแห่งเดียวเท่านั้นที่ยุติไว้ในบัดนี้ได้ว่า เก่าที่สุด
ที่ยุติเช่นนั้นก็มิใช่อื่น คำว่า หลักฐานทางโบราณคดีที่อ้างมา ขึ้นอยู่กับขอบเขตแห่งลักษณะพระพุทธศิลป ซึ่งได้มาจากผลการเปรียบเทียบทางประติมากรรม และสถาปัตยกรรมโบราณ ยืนยันรับรองซึ่งกันและกัน ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากศิลาจารึกต่างๆ อันมีเหตุผลขึ้นอยู่กับลักษณะรูปแบบตัวหนังสือโบราณในศิลาจารึกนั้น ๆ และลักษณะภาษาโบราณ ประกอบกับศักราชหรือกาบเวลาที่อ้างถึงศิลาจารึกเหล่านี้ทั้งหมดจักเป็นผลอันประมวลมาสรุปลงในช่วงกาลเวลาของพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ กฎเกณฑ์ที่ยุติไว้นางโบราณคดีนั้น ข้อใหญ่ใจความแล้วต้องถึงพร้อมด้วยมูลปัจจัยอยู่ 3 ประการ

1. ศิลปโบราณวัตถุ ได้แก่ประติมากรรม
2. ศิลปโบราณสถาน ได้แก่สถาปัตยกรรม
3. ศิลาจารึก อันประจำอยู่ในสถานที่นั้น ๆ

เมื่อข้อมูลใหญ่ ๆ ทั้ง 3 ประการ ได้ประชุมพร้อมกันเมื่อใด ส่งผลการวินิจฉัยไปในรูปรอยแห่งอารยธรรมวัฒนธรามอย่างเดียวกัน ร่วมทางกัน ไม่ขัดแย้งกันแม้อย่างหนึ่งอย่างใด เมื่อนั้นนักโบราณคดีพึงนำมายุติกำหนดอายุเวลาได้ทันที จนกว่าจะมีข้อมูลอื่นที่แน่นอนชัดเจนยิ่งกว่าจึงจะยินยอมเปลี่ยนข้อยุติที่เคยกำหนดไว้
เหตุฉะนั้น ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17 ขึ้นไปจนถึงพุทธศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ทั้งในดินแดนลุ่มน้ำปิง วัง ลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำโขง ยังไมมีหลักฐานทางพุทธศิลปะทั้งในด้านโบราณสถานและโบราณวัตถุ ตลอดจนศิลาจารึกทั้งหลาย ที่จะเป็นมูลปัจจัยเบื้องต้นในการกำหนดอายุเวลาทางวิชาโบราณคดีได้ จึงคงไว้เป็นข้อยุติของตำนานส่วนเดียว ซึ่งถือว่าเป็นเพียงแนวทางของการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงสืบไป แต่ไม่ใช่ข้อยุติทางโบราณคดี
มีปัญหาอยู่อีกประการหนึ่งที่ควรพิจารณาให้ถ่องแท้ เนื่องจากในที่นี้ใช้คำว่า ล้านนา แต่โดยทั่วไปท่านจะใช้เพียง ลานนา เท่านั้น ดังนั้นด้วยเหตุผลเช่นไรจึงใช้คำว่า ล้านนา . ควรเสนอแนะไว้ด้วย ความจริงเรื่องนี้ผู้เรียบเรียงถือเป็นของฝากที่ได้รับมาจากท่านศาสตราจารย์แสง มนวิฑูร ซึ่งท่านผู้นี้เป็นทั้งครูอาจารย์ และญาติผู้ใหญ่อันสนิทที่สุด ความรู้ความสามารถของท่านเป็นที่เชื่อถือกันอยู่ในมวลหมู่ปวงปราชญ์ทั้งหลาย โดยเฉพาะภาษาสันสกฤต แต่ท่านเคยใช้ชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ทางภาคเหนือสุดแดนไทยกว่า 20 ปี ท่านได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารโบราณ ตำนานต่าง ๆ จนกระทั่งมีความรอบรู้และเข้าใจภูมิภาคของทางภาคเหนือแทบจะทั่วไปหมด ทั้งในด้านศาสนา ปรัชญา อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์โบราณคดี ตลอดจนภาษาศาสตร์เป็นที่สุด ท่านชี้แจงไว้ว่าไม่ควรเรียก ลานนา แต่ควรเรียกเป็น ล้านนา เพราะภาษาไทยภาคเหนือในความหมายว่า ลาน เช่น ลานบ้าน ลาน วัด หรือลานนวดข้าว ภาษาไทยภาคเหนือจะใช้คำว่า ข่วง เช่น ข่วงนา ข่วงบ้าน และข่วงวัด หรือชื่อวัดที่เกี่ยวกับลานก็ยังเรียกว่า วัดหัวข่วง ซึ่งภาษาไทยภาคกลางก็เรียกว่า วัดหัวลาน ดังนี้
เมื่อแนะนำทำความเข้าใจมาพอเป็นเค้ามูลแห่งเรื่องดังประสงค์ได้บ้างแล้ว ลำดับต่อไปนี้จะเสนอหลักฐานอันเป็นที่มาของตำนานประวัติโบราณล้านนา ซึ่งต้องขอวางกำหนดกาลเวลาของเรื่องนี้ไว้ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมา จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 19 อันขอบเขต 700 ปี ถือว่าเป็นประวัติอารยธรรมวัฒนธรรมยุคก่อนล้านนา ส่วนตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 ลงมาตราบจนปัจจุบันนี้ จึงจะจัดอยู่ในยุคล้านนา ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การดำเนินเรื่องอันสัมพันธ์อยู่กับหลักฐานแต่อดีตกาลของบรรพชนทั้งหลายที่เคยพำนักอาศัยอยู่ในดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย ล่วงกาลเวลาเวลามาหลายร้อยปีแล้วนั่นเอง
ดินแดนทางภาคเหนือกับทางภาคอีสานของประเทศไทย มีเส้นลำน้ำสายใหญ่และยาวที่สุดในอินโดจีนนี้ได้แก่แม่น้ำโขง ซึ่งภาไทยเหนือเรียกว่า น้ำแม่โขง หรือน้ำแม่ของเสมอ หาได้เรียกว่า แม่น้ำ ไม่ และควรระลึกไว้เสมอว่า ถ้าพบคำว่า แม่ ในที่ใด ตำบลใด ของทางภาคเหนือแล้วพึงกำหนดไว้ทันทีว่า นั่นหล่ะเขาหมายถึง แม่น้ำ แล้ว ดังเช่นแม่จัน แม่ใจ และแม่สาย เป็นต้น น้ำแม่โขงนั้นจึงเป็นเส้นกั้นพรมแดนแบ่งเขตของประเทศไทยทางตอนเหนือสุดของประเทศเป็นต้นมา และยืดยาวออกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจนเข้าไปสู่ประเทศกัมพูชาเป็นที่สุด น้ำแม่โขงจึงเป็นเส้นทางสำคัญต่อกำเนิดอารยธรรมวัฒนธรรมโบราณของอดีตชนมาช้านานตั้งแต่เบื้องบรรพกาลตราบเท่าทุกวันนี้ บรรดาชุมชนโบราณสองฟากฝั่งที่ได้ตั้งรกรากอยู่อย่างซับซ้อน ฝังอดีตไว้ให้ได้ศึกษาเรียนรู้กันอย่างมิมีวันสิ้นสุดเป็นแหล่งอารยธรรมวัฒนธรรมโบราณแห่งหนึ่งที่สำคัญรอคอยท่านผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงภูมิปัญญาเข้าไปศึกษาหาความรู้อยู่เมื่อเชื่อวัน และเป็นแหล่ที่ท้าทายนักวิชาการอีกสถานที่หนึ่งด้วย
แหล่งอารยธรรมวัฒนธรรมแห่งแรกที่จะกล่าวถึงคือเมืองโยนกนคร เนื่องจากเอกสารโบราณที่เป็นตำนาน ประวัติ ได้กล่าวถึงเมืองนี้ไว้อย่างถี่ถ้วนและเป็นที่เชื่อถือกันมากในหมู่ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ล้วนแต่พากันชื่นชมในประวัติศาสตร์ของเมืองนี้เป็นอย่างยิ่ง แทบจะกล่าวได้ว่า จะเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของทางภาคเหนือทีเดียว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ของชาติไทยเรา ทรงเชื่อมั่นว่า อาณาจักรโยนกนั้นเป็นแหล่งพุทธศิลปะของไทยในรอบพุทธศตวรรษที่ 16 ที่ทรงบัญญัติเป็นพุทธศิลปะสมัยเชียงแสนขึ้นในวงวิชาการสืบมา นั่นเป็นผลอันเนื่องมาจากเอกสารโบราประวัติเรื่องนี้ พระองค์ทรงยุติ จากเรื่องของพระเจ้าพรหม ซึ่งเป็นเชื้อสายกษัตริย์อันสืบมาแต่พระเจ้าสิงหนวัติ ผู้ทรงสร้างเมืองโยนกนครเป็นต้นมา จึงเป็นเหตุให้พระเจ้าพรหมได้รับพระสมัญญาว่า พระเจ้าพรหมมหาราช ในขณะทรงกอบกู้เอกราชของเมืองโยนกนครให้พ้นจากอำนาจพระยาขอมดำที่ได้เข้ายึดครองเมืองโยนกนครอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
แต่บัดนี้เราไม่สามารถจะค้นพบเมืองโยนกนครนั้นได้แล้ว เพราะเมืองนี้ทั้งเมืองได้ล่มถล่มจมลงไปกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่า เวียงหนองล่ม ปัจจุบันนี้อยู่ในเขตอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในตำบลทุ่งฟ้าฮ่าม หรือ ตำบลหนองล่ม นอกจากนี้เรายังไม่เคยพบเห็นศิลปกรรมใด ๆ ที่จะนำมาพิจารณากำหนดแบบอย่างยืนยันได้เลยว่าจะเป็นศิลปะสมัยเมืองโยนกนคร หรือสมัยพระเจ้าพรหมแม้สักชิ้นเดียว และบริเวณเมืองโยนกนครซึ่งตำนานได้บันทึกไว้นั้น บ่งบอกทิศทางไว้พอที่จะสืบกันได้ว่า ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำกกตอนปลายที่จะออกไปสู่แม่โขงที่เรียกว่า ตำบลสบกก คือปากน้ำแม่กกออกไปพบเส้นลำน้ำแม่โขง ทางตอนใต้ของอำเภอเชียงแสนลงไปประมาณ 9 กิโลเมตร บัดนี้ บริเวณเวียงหนองบ่มอันเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโยนกนครนั้นก็อยู่ห่างจากลำน้ำแม่โขงเข้ามาในระยะที่ตำนานอ้างว่า 7000 วา ประมาณ 14 กิดลเมตร ก็นับว่าเป็นระยะทางที่ลงตัวกันพอดีกับบริเวณเวียงหนองล่มในทุ่งฟ้าฮ่ามบัดนี้
เมืองโยนกนครได้ถึงกาลอวสานล่มถล่มลงไปทั้งเมือง เนื่องจากชาวเมืองโยนกกินปลาไหลเผือ ลำตัวเท่าต้นตาลยาวประมาณ 7 วา ระยะที่เมืองนี้พินาศ ได้พยายามสอบชำระศักราชอย่างถี่ถ้วนพอสมควรแล้ว อาจกำหนดได้ว่าตกราว พ.ศ. 1551 หรือประมาณ พุทธศตวรรษที่ 16 แต่ในสมัยอยุธยาเราก็ได้พบหลักฐานทางวรรณกรรมร่วมสมัย เป็นต้นว่า ลิลิตยวนพ่าย โคลงนิราศหริภุญชัย ทวาทศมาศ และจดหมายเหตุต่างได้ใช้คำว่า ยวน หรือ โยน เรียกกลุ่มชนคนไทยทางภาคเหนือแถบเมืองเชียงใหม่อยู่ว่า พวกยวน หรือไทยยวนและไทยโยน ซึ่งร่องรอยทางภาษาอย่างนี้ก็หมายถึงเมืองโยนกนครนั่นเอง แม้หนังสือไทยชนิดหนึ่งทางภาคเหนือก็เรียกว่า หนังสือไทยโยน หรือไทยยวนอีกด้วย แต่ความจริงแล้วกลุ่มชนเมืองเขียงใหม่เหล่นั้น จะเป็นผองเผ่าพันธุ์เดียวกันกับ พวกเมืองโยนกนครหรือไม่ ความข้อนี้ยากที่จะตัดสินได้ แต่รู้ได้อย่างหนึ่งว่า กลุ่มเชื้อสายกษัตริย์โยนกนคร กับกลุ่มเชื้อสายกษัตริย์เชียงใหม่นั้น เป็นคนละสายตระกูลกันแน่
เอกสารโบราณซึ่งเป็นตำนานว่าด้วยเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสนนั้น บ่งถึงถิ่นฐานอันเป็นรกรากดั้งเดิม สายตระกูลกษัตริย์พระเจ้ามังราย หรือพ่อขุนมังราย สร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่บริเวณน้ำแม่สายและดอยตุง บัดนี้ได้แก่อำเภอแม่สายในจังหวัดเชียงรายนั่นเอง เริ่มต้นตั้งแต่ปฐมกษัตริย์อันทรงพระนามว่าพระเจ้าลาวจกหรือปู่เจ้าลาวจก พระนามที่อ้างถึงนี้เมื่อได้รับการปรับปรุงในทางภาษาจากท่านพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงความรู้ทางภาษาบาลี ในระยะหลังจะอ้างถึงพระนามของพระองค์เป็นลวจังกราชบ้าง ลาวจักรเทวราชบ้าง ดุจเดียวดังพระนามของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งเมืองเชียงใหม่ แต่เดิมพระองค์ทรงเป็นโอรสพระองค์ที่ 6 พระบิดาทรงตั้งพระนามไว้อย่างสามัญว่า เจ้าลก พอขึ้นครองราชย์ในเมืองเชียงใหม่ ก็ได้รับพระนามาภิไธยว่า พระเจ้าติโลกราช ดังนี้
เหตุนั้นบรรพชนสายตระกูลกษัตริย์ของพระเจ้ามังราย ตามเอกสารโบราณตำนานดังกล่าว จึงควรยุติไว้ในพระนามว่า พระเจ้าลาวจก น่าจะใกล้เคียงต่อความเป็นจริงดังเดิมมากกว่าพระนามที่เฉลิมเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่น อีกนัยหนึ่งนั้นบรรดากษัตริย์ทุกพระองค์ในสายตระกูลนี้จะมีคำว่า ลาว นำหน้าพระนามอยู่ทุกพระองค์ตลอดมา จนกระทั่งถึงพระบิดาของพ่อขุนมังราย จึงเป็นพระองค์สุดท้ายที่มีคำว่า ลาว นำหน้าพระนามอีกสืบไป นับว่าเป็นการสิ้นสุดประเพณีหรือขัตติยประเพณีแห่งกษัตริย์ในสมัยตระกูลนี้
มีข้ออันพึงสังเกตอยู่อีกประการหนึ่ง เพราะในที่นี้อ้างถึงพระนามของ พระเจ้ามังราย เสมอหาได้เรียกพระนามของพระองค์เป็น เมงราย ด้วยไม่ ซึ่งการเรียกพระนามว่าพระเจ้าเมงรายพ่อขุนเมงรายหรือพระยาเมงราย ทั้งนี้ปรากฏแต่ในหนังสือพงศาวดารโยนกที่พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) เรียบเรียงไว้ เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ คงมีความจำเป็นบางประการซึ่งท่านผู้เรียบเรียงจะต้องล่วงรู้ดีทีเดียว เพราะบรรดาศิลาจารึก และเอกสารโบราณตำนานทั้งปวง อ้างถึงพระนามว่า พญามังราย ดังนั้น
ชรอยคำว่า มังราย จะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า เป็นชื่อพม่า ความเห็นเช่นนี้ท่านศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร กรุณาอธิบายว่า ในรัชกาลที่ 5 นั้น ประเทศพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และอังกฤษพยายามขยายอาณานิคมของตนเข้ามายังดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย มีเชียงใหม่เป็นหลักอยู่ เพื่อแก้ไขสถานการณ์ในทางการเมือง ท่านผู้เรียบเรียงพงศาวดารโยนก จึงได้แก้ไขพระนามอันถูกต้องของพ่อขุนมังรายไปเป็น เมงราย
บัดนี้เราไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใดที่จะต้องหลีกเลี่ยงข้อเท็จจริงที่แล้วมา ดังนั้นควรยิ่งที่จะกลับไปใช้พระนามพระมหากษัตริย์แห่งล้านนาพระองค์หนึ่งซึ่งทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ อันเป็นศูนย์กลางแห่งการปกครองแว่นแคว้นล้านนาแต่โบราณนั้น จึงในที่นี้พยายามกล่าถึงพระนามของพระองค์ว่า มังราย อยู่ตลอดมา
อาศัยข้อมูลปัจจัยทางโบราณคดีดังกล่าว จึงขอเรียกพระนามพระมหากษัตริย์ล้านนาพระองค์นี้ว่าพ่อขุนมังราย เพื่อแสดงสัมพันธกรณีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ส่วนพระยางำเมืองนั้นขอคงพระนามไว้ตามหลักฐานที่ได้พบเห็น ทั้งที่ความจริงบ่งัดอยู่ในตำนานเอกสารโบราณว่าพระยาร่วง และพระยางำเมืองแห่งเมืองพะเยานั้น ทรงเป็นพระสหายสนิทร่วมสถานการศึกษาด้วยกันมาแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ยิ่งไปกว่านั้น พระยาร่วงยังได้เสด็จไปมาหาสู่กับพระยางำเมืองถึงขนาดทรงลอบเข้าหาพระชายาของพระยางำเมืองอีกด้วย พ่อขุนมังรายต้องเสด็จไปไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทนั้น เลิกแล้วต่อกันไป อันที่จริงสายตระกูลกษัตริย์ฝ่ายพระยางำเมือง ก็เป้ฯสายตระกูลเดียวกันกับพ่อขุนมังราย ซึ่งแยกตัวออกไปตั้งถิ่นฐานอยู่แถบเมืองพะเยา เป็นอีกตระกูบหนึ่งออกไปในราว พ.ศ. 1639 พระเจ้าลาวเงิน ผู้ครองเมืองเงินยาง มีพระโอรส 2 พระองค์ เชษฐโอรสมีนามว่าขุนชิน และอนุชานามว่า ขุนจอมธรรม พระบิดาได้จัดสรรให้ ขุนจอมธรรม ไปครองเมืองภูกามยาว หรือเมืองพะเยา อันเป็นเมืองฝ่ายใต้ ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาชมภู หรือดอยด้วน แถบแม่น้ำอิง อันเป็นแม่น้ำใหญ่ ครองเมืองอยู่ได้ 3 ปี มีพระโอรสค์หนึ่งนามว่า ขุนเจื๋อง หรือพระยาเจื๋อง ประสูติในปี 1642 ต่อมาได้เป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพยิ่งขยายดินแดนออกไปสู่สองฟากฝั่งแม่น้ำโขง มีอาณาเขตถึงญวนจามและลาว อาจะเข้าไปถึงกัมพูชาด้วยก็ได้ เพราะได้พบภาพสลักจอมทัพเสียมกุก หรือสยามกุกเข้าขบวนกับพระเจ้าสุรยวรมันที่ 2 ราวพุทธศตวรรษที่ 17 ที่ระเบียงภาพด้านทิศใต้แห่งปราสาทหินนครวัด ขุนเจื๋องนี้ก็นับว่าเป็นกษัตริย์แห่งพะเยาพระองค์หนึ่ง ทรงเป็นบรรพชนของพระยางำเมือง แห่งเมืองพะเยาอีกด้วย เพราะนับจากพระยางำเมืองขึ้นไปหาขุนเจื๋องแล้ว ก็ห่างกันอยู่เพียง 3 หรือ 4 ชั่วกษัตริย์เท่านั้น แต่หลักฐานทางโบราณคดีอื่น ๆ อันนอกเหนือไปจากตำนานประวัติแล้วไม่มี จึงไม่อาจจะยืนยันให้เป็นมั่นเหมาะได้ ความชัดเจนของเรื่องทั้งหมดในภาคเหนือของประเทศไทยเราที่มีหลักฐานทางโบราณคดีรับรองได้ ก็ตั้งแต่สมัยกษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์นี้ลงมา เพราะได้พบเห็นศิลาจารึกอ้างถึงพระนามกษัตริย์ทั้งสามพระองค์รวมกันอยู่บ้าง และสามารถนำเข้ามาวิเคราะห์ร่วมกับตำนานประวัติต่าง ๆ ได้
ตำนานประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ทางภาคเหนือของประเทศไทยเรา ล้วนแต่เป้ฯบันทึกความจำของกลุ่มชนรุ่นหลังที่พยายามบันทึกถึงเรื่องราวบรรพชนของตนไว้ อันเป็นการกระทำย้อนหลังจากยุคสมัยของตนลึกเข้าไปในอดีตกาลที่ผ่านมาหลายร้อยปีทีเดียว การกระทำเช่นนั้นนับว่าเป็นผลดีต่อการศึกษาในปัจจุบันมาก หากมิเช่นนั้นแล้วการศึกษาในปัจจุบันนี้จะไม่มีอะไรเป็นเค้ามูลที่จะสอบสวนหรือศึกษาหาความรู้กันได้เลย แต่การบันทึกของตำนานประวัติเหล่านั้นจะเป็นข้อยุติโดยทันทีหาได้ไม่ เป็นได้แต่เพียงอุปกรณ์หรือเครื่องมือชนิดหนึ่งเท่านั้น
ในที่นี้ คงจะรวบรัดลงได้บ้างว่า ภาคเหนือของประเทศไทยเรา มีร่องรอยอารยธรรมวัฒนธรรมอันเกาแก่ทีได้จากตำนานประวัติ บันทึกความทรงจำไว้ให้รู้ได้ว่าสายบรรพชนของกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่แถบลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มแม่น้ำกก และลุ่มแม่น้ำปิงนั้น ล้วนแต่มีขอบเขตของการเวลาที่บังเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 19 อาจแยกได้ดังนี้

1. กลุ่มชนทางแถบลุ่มแม่น้ำกกนั้นเริ่มต้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าสิงหนวัติทรงสร้างเมืองโยนกนครขึ้น ร่วมกาลเวลาเดียวกันกับสมัยราชวงศ์ถังในคน ตกราวพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองโยนกนครจึงถึงแก่กาลอวสาน ถล่มลมลงไปทั้งเมืองสิ้นสายตระกูลกษัตริย์ฝ่ายสิงหนวัติ แต่อาจมีกลุ่มชนและเชื้อสายตระกูลกษัตริย์ฝ่ายพระเจ้าพรหมแห่งไชยปราการ อพยพลงมาสู่ดินแดนแถบลุ่มน้ำปิงตอนกลาง เมืองไตรตรึง หรือชากังราวกำแพงเพชร บ้างเข้าสัมพันธ์กับกลุ่มชนแถบสุพรรณบุรีและสุโขทัยด้วยก็ได้ และคงจะรวมเข้ากับเชื้อสายกษัตริย์อยุธยาในตอนต้น ๆ มีพระเจ้าอู่ทอง และขุนหลวงพะงั่ว เป็นแนวทางอันน่าสังเกตอยู่

2. กลุ่มชนทางแถบลุ่มแม่น้ำสาย อันเป็นบรรพชนของพ่อขุนมังราย เริ่มต้นทางแถบแม่น้ำแม่สาย และดอยตุง เป็นแนวภูมิสถาน สถาปนาหิรัญนครเงินยางขึ้นในราว พ.ศ. 1182 หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ดินแดนดังกล่าวในทุกวันนี้ก็พบเห็นร่องรอยคันคูเมืองโบราณอยู่ในบริเวณอำเภอแม่สายด้วยเหมือนกัน สายกลุ่มชนในตระกูบนี้ได้เป็นผู้ยึดครองดินแดงภาคเหนือของประเทศไทยไว้ได้ ตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี ครอบงำดินแดนแถบลุ่มน้ำโขงลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำปิง วัง หรือแถบลุ่มน้ำอิง และน่าน ตอนบนทั้งหมดเป้ฯดินแดนที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก อาจเลยขึ้นไปถึงสิบสองพันนา สิบสองจะไทยด้วยก็ได้ ในรอบพุทธศตวรรษที่ 19 ล่วงมาแล้ว สายตระกูลกษัตริย์กลุ่มนี้ได้มีอำนาจยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้นสามารถยึดครองอาณาจักรหริภุญไชย อันเป็นแหล่งอารยธรรมวัฒนธรรมโบราณที่สุดของภาคเหนือนั้นได้ แล้วสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานี ศูนย์กลางแห่งการปกครองในปี พ.ศ. 1839

3. กลุ่มชนทางแถบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน แถบจังหวัดลำพูนบัดนี้ กับบริเวณลุ่มแม่น้ำวัง ในเขตจังหวัดลำปางปัจจุบัน ถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณอันเก่าแก่ยิ่ง อาจสัมพันธ์กับอารยธรรมทวารวดี และลพบุรีทางภาคกลางด้วย เพราะมีนางกษัตริย์พระองค์แรกจากกรุงละโว้ขึ้นไปครองหริภุญไชยในปี พ.ศ. 1206 คือพระนางจามเทวี ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ในสายตระกูลนี้ สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 1825 ในรัชสมัยพระยายีบา กษัตริย์องค์สุดท้ายที่ถูกพ่อขุนมังรายยึดเมืองหริภุญไชยไว้ในที่สุด
จะเห็นได้ว่าความสำคัญของกลุ่มเมืองทั้งสามแห่งที่กล่าวมานั้น จะมารวมอยู่ที่พ่อขุนมังรายพระองค์เดียว เพราะทรงยึดเมืองหริภุญไชยไว้ได้ในอำนาจ ทรงปรองดองกันได้กับพระยางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และทรงสัมพันธ์กันอยู่กับพระยาร่วง หรือพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ความเป็นปึกแผ่นแห่งบ้านนาก็ควรเริ่มต้นตั้งแต่พ่อขุนมังรายเป็นต้นไปดังที่เข้าใจโดยชี้แจงมาแล้ว เราควรจะยุติได้ว่า ยุคล้านนานั้นตั้งต้นเริ่มแต่รัชสมัยพ่อขุนมังรายเป็นปฐม ถ้าก่อนสมัยพ่อขุนมังราย ขึ้นไปยังไม่ถือว่าเป็น ล้านนา ในที่นี้จะกำหนดว่าเป็น ก่อนล้านนา ไว้พลางก่อนเพื่อสะดวกในการอธิบาย ซึ่งอาจให้กำหนดกาลเวลากำกับไว้ด้วยได้ว่า ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ขึ้นไป ถึงพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นที่สุดนั้น ในขอบเขต 7 ศตวรรษนี้ หรือ 700 ปี โดยประมาณ ช่วงนี้ถือว่าเป็นยุคก่อนล้านนา ในประวัติอารยธรรมวัฒนธรรมภาคเหนือของประเทศไทย และตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา นั่นแหล่ะจึงถือได้ว่าเป็น ยุคล้านนา ฉะนี้
ก่อนที่จะบรรยายรายละเอียดในยุคล้านนา ใคร่ขออธิบายถึงหลักฐานทางโบราณคดีก่อนล้านนา อันมีร่องรอยบางประการที่จะนำมาชี้แจงได้บ้าง ในเมื่อเรายุติความเป็นล้านนาไว้ในรอบพุทธศตวรรษที่ 19 แล้ว เริ่มจากนี้ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ขึ้นไปราว 200 ปี หรือ 2 ศตวรรษ ได้พบร่องรอยอารยธรรมวัฒนธรรมโบราณ ก่อนล้านนา อยู่ที่ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำปิง ในเขตจังหวัดลำพูนบัดนี้ ซึ่งอารยธรรมวัฒนธรรมนั้น ยุติได้ตามศิลาจารึก และเอกสารตำนานประวัติรับรองซึ่งกันและกันได้ ขอเรียกลักษณะอารยธรรมวัฒนธรรมนี้ว่า หริภุญไชย ได้ค้นพบศิลาจารึก อักษรมอญโบราณ ภาษาบาลี และภาษามอญโบราณ อยู่ร่วมกันในศิลาจารึกหลักเดียวกัน ความจริงศิลาจารึกอักษรมอญโบราณ เท่าที่ทางพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชยรวบรวมไว้ และนำออกจัดแสดงอยู่เท่าทุกวันนี้ มีถึง 7 หลักด้วยกัน ศิลาจารึกหลักหนึ่งใน 7 หลักนั้นน่าสนใจยิ่ง แต่เดิมนักปราชญ์ต่างประเทศมีท่านศาสตราจารย์เซเดส์ และท่านศาสตราจารย์ ฮัลลิเดย์ ได้อ่านและแปลไว้ช้านานมาแล้ว โดยทั่วไปในหมู่นักปราชญ์ทั้งหลายท่านก็ถือว่าเป็นข้อยุติ
ศิลาจารึก หลักหนึ่งนั้นเรียกว่า จารึกวัดดอน หมายถึงว่า พบศิลาจารึกหลักนี้ที่วัดดอน บริเวณที่พบในปัจจุบันนี้หมดสภาพไปแล้ว ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของวัดพระธาตุหริภุญไชย กล่าวถึงพระนามกษัตริย์หริภุญไชยพระองค์หนึ่ง ผู้ทรงพระนามว่า พระเจ้า สววาธิสิทธิ จากเอกสารตำนานเรื่องจามเทวีวงศ์ อันท่านพระโพธิ์รังษี พระเถราจารย์ผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลีอย่างยอดเยี่ยม ได้นิพนธ์ไว้เป็นภาษาบาลีในราวพุทธศตวรรษที่ 21 แห่งรัชการพระเมืองแก้วของล้านนาไทย อ้างว่าพระเจ้าสรรพสิทธิ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ครองราชย์สมบัติในเมืองหริภุญไชยพระองค์หนึ่ง ในราชวงศ์จามเทวีนั้น ด้วยเหตุที่กล่าวว่า พระนางจามเทวีทรงเป็นธิดากษัตริย์ คือพระเจ้าจักรพรรดิแห่งกรุงละโว้ (ลพบุรี) ได้เสด็จขึ้นไปครองหริภุญไชยนคร ราวพุทธศตวรรษที่ 13 กาลเวลานี้อยู่ในขอบเขตสมัยทวารวดี ดังนั้น จึงทำให้นักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีทั่วไปลงความเห็นว่า พระนางจามเทวี เป็นมอญ เมื่อพบหลักฐานศิลาจารึกนี้มีทั้งภาษาบาลี และภาษามอญ ก็ยิ่งเป็นข้อรับรองให้แน่ชัดยิ่ง หากไม่คำนึงถึงเรื่องเชื้อชาติกันแล้วเราควรยุติได้ว่ากษัตริย์หริภุญไชยโบราณพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สววาธิสิทธิ ในจารึกของพระองค์บ่งว่าทรงนับถือพระพุทธศาสนาที่ใช้ภาษาบาลีพระองค์ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก และได้ทรงผนวชในพระพุทธศาสนานั้นตามที่ จารึกภาษามอญ บันทึกว่า

- เมื่อครั้งตูข้าบวชในพระอุโบสถ แห่งวัด
- เชตวนาราม พร้อมด้วยโอรส 2 องค์
- องค์หนึ่งชื่อ มหานามะ อีกองค์หนึ่ง
- ชื่อกัจจายนะ ในขณะที่บวชนั้น ตูข้ามี
- อายุข่างเข้า 31 พรรษา เป็นปีเชฎฐมาส
- วันขึ้น 13 ค่ำ วันอังคาร พระจันทร์เสวย
- จิตรฤกษ์ ในวันนั้น เจ้ากูมหาเถรนามว่า
- ราชครู เป็นอัครเถร และมีอายุ 82 พรรษา
- เจ้ากูมหาเถร พรอ้มด้วยพระภิกษุสงฆ์
- อีก 80 รูป สามเณร 102 รูป ทั้งปวง
- นี้ สถิตใน เชตวนาราม ฯ.

ศิลาจารึกอักษรมอญโบราณทั้ง 7 หลักนั้น ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายศิลาจารึกทั้งหลายยุติว่า เป็นรูปอักษรอย่างเดียวกันกับศาลาจารึกที่พบในกรุงพุกาม ประเทศพม่า รวมสมัยพระเจ้ากยันสิตถา ระหว่าง พ.ศ. 1628 - 1630 ดังนั้น ศิลาจารึกหริภุญไชยทั้ง 7 หลักนี้ ควรเป็นจารึกที่ได้กระทำขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าสววาธิสิทธิ หรือพระเจ้าสรรพสิทธิ์ กษัตริย์พระองค์หนึ่งในสายตระกูลวงศ์พระนางจามเทวี และศิลาจารึกหลักหนึ่งของหริภุญไชยนั้นได้บ่งบอกปี พ.ศ. 1682 ไว้ด้วย ได้แก่ศิลาจารึกพบที่วัดบ้านหลวย
วิชาการโบราณคดีอันว่าด้วยศิลาจารึกโบราณที่พิจารณาวินิจฉัย จากผลการอ่านศิลาจารึกของท่านผู้เชี่ยวชาญอักษรภาษาจารึก และรูปแบบอักษรตามหลักฐาน วิชาการอันว่าด้วยอักขระวิทยาแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่า กาลเวลาแห่งอารยธรรมวัฒนธรรมหริภุญไชยในบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง และลุ่มแม่น้ำวังอันเป้ฯที่ตั้งของเมืองลำพูนและเมืองลำปาง หรือจังหวัดลำพูนและจังหวัดลำปางยัดนี้ ควรจะอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นดีที่สุด เกินขอบเขตกาลเวลาดังกล่าวขึ้นไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น ยังไม่มีหลักฐานจากศิลาจารึกใด ๆ ในบริเวณดังกล่าวจะนำมายืนยันรับรองได้
กระนั้นการที่ตีความจากศิลาจารึกลำพูน แถบลุ่มแม่น้ำปิง ไปถึงลุ่มแม่น้ำวังด้วยนั้นเป็นการประเมินจากศิลาจารึกลำพูนออกไปหาบริเวณจังหวัดลำปาง เพราะได้ค้นพบศิลปกรรมอย่างเดียวกันที่จังหวัดลำพูน หาพบศิลาจารึกร่วมสมัยเดียวกันกับศิลาจารึกลำพูนดังกล่าวมาด้วยไม่
การค้นพบพระนามกษัตริย์ อักษรภาษา ในศิลาจารึกดังกล่าว กระทำให้ได้รับความกระจ่างแจ้งยิ่งขึ้น เพราะทำให้รู้ได้ว่า พระเจ้าสัพพาธิสิทธิ หรือพระเจ้าสัพพสิทธิ หรือสรรพสิทธิ์ในเอกสารตำนานประวัตินั้น รับรองกันได้กับพระเจ้า สววาธสิทธิ ที่พบในศิลาจารึกควรจะเป็นพระองค์เดียวกัน ทั้งกาลเวลาที่กำหนดไว้ในตำนานประวัติ ก็อยู่ในรอบพุทธศตวรรษที่ 17 อีกด้วย
พระเจ้าสัพพาธิสิทธิ หรือสววาธิสิทธินั้นทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งของหริภุญไชยนครครั้งโบราณกาล ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอเนกประการ และทรงผนวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระบวรพุทธศาสนา ซึ่งบรรดาพระมหากษัตริย์ที่นับถือพระพุทธศาสนาได้ทรงผนวชนั้น เราเคยยกย่องกันเสมอมาว่า เริ่มต้นแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งโมริยวงศ์ ในประเทศอินเดีย เป็นปฐมที่ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเป็นการชั่วคราวพระองค์แรก ในส่วนประเทศไทยเรานั้น ยุติกันว่าพระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพระยาลิไท พระนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัย ได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นการชั่วคราวเมื่อปี พ.ศ. 1905 ดังที่มีหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยของพระองค์รับรองอยู่ เมื่อหลักฐานศิลาจารึกหริภุญไชย หรือที่จังหวัดลำพูน บ่งถึงการทรงผนวชของพระเจ้าสววาธิสิทธิไว้เช่นนี้ ก็ควรกำหนดได้ว่า พระเจ้าสววาธิสิทธิ เสด็จออกผนวชเป็นการชั่วคราว ก่อนสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 แห่งกรุงสุโขทัย และคติที่พระมหากษัตริย์ผู้ทรงนับถือพระพุทธศาสนาได้ทรงผนวชนั้น ก็ได้มีขัตยประเพณีมาแล้วก่อนสมัยสุโขทัย บนผืนแผ่นดินไทยบัดนี้นั่นเอง
ศิลาจารึกวัดดอน หรือวัดเชตวนาราม ของพระเจ้าสววาธิสิทธิ นั้น ได้จารึกเป็นภาษาบาลีไว้ด้วย ท่านผู้เชี่ยวชาญภาษาบาบีได้พิจารณาวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนตามความรู้ความสามารถของงท่านแล้ว ยืนยันว่า เป็นบทประพันธ์ประเภทร้อยกรอง หรือฉันทลักษณ์แบบผสมเรียกว่า มิสสกฉันท์ และให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นพระนิพนธ์ของพระเจ้าสววาธิสิทธิอีกด้วย เพราะเป็นการประพันธ์บันทึกพระราชกุศลที่ได้ทรงบำเพ็ญเป็นสิ่งถาวรไว้ในพระพุทธศาสนาตามที่ปรากฏได้แก่

1. เชตวนาลัย สมีโรงอุโบสถาคาร งดงาม
2. อาวาสอันถาวร คือ เชตวนาราม
3. พระเจดีหุ้มทองคำ
4. พระไตรปิฎก

จึงขออัญเชิญหลักฐานทีได้จากศิลาจารึกวัดดอน อันควรเป้ฯพระนิพนธ์ของพระเจ้าสววาธิสิทธิทรงประพันธ์เป็นพระคาถาภาษาบาลี 3 คาถาดังนี้
สพ.พาธิสิท.ธ.ยาข.ยรถิส.สเรน
ฉพ.ทโสวส.สีน ปโยชิเตน.
อุโปสถาคารวร มโนรม
มยา กตญ.เชตวนาลยลย (1)

ตีเสกวส.สีน มยา จ ตส.มี
กโต หิโตท.ธารณ.โกว อาวโส
อาวาสิก ภิกขวร สุลีล
สทา จ อุปฎฐหน อก เว (2)

สาปายิก เหมมยญ.จ เจติย
กต พหน.เตปิฎก อเลก.ข
มุจ.จน.ต ทุก.ขา สุขิตา จ สต.ตา
รติพ.พเลน รตนต.ตยส.มี (3)

แปลความได้โดยลำดับดังนี้
1. เวียงชื่อ เชตวนาลัย มีโรงอุโบสถงามประเสริฐ เป็นที่ยังใจให้รื่นรมย์อันตูข้าผู้มีอายุ 26 ปี ได้รับอภิเษกเป็นผู้ครองประเทศ เป้ฯจอมพลรถ ปรากฏนามว่า สรรพาธิสิทธิ์ สร้างไว้แล้ว
2. อนึ่งอาวาสอันเป็นที่ปลูกฝังประโยชน์เกื้อกูลถ่ายเดียว อันตูข้าผู้มีอายุ 31 ปี สร้างไว้แล้ว ในเวียงเชตวนาลัยนั้น ตูข้าได้กระทำพระภิกษุผู้ประเสริฐ มีศีลดีงาม ให้เป็นเจ้าอาวาส และได้กระทำการบำรุงทุกเมื่อแล
3. อนึ่ง พระเจดีย์หุ้มทองคำ งดงามอร่ามเรือง อันตูข้าได้สร้างไว้แล้ว ตูข้าได้จำลองพระไตรปิฎกเป็นอันมากไว้แล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงพ้นจากทุกข์ และมีความสุขด้วยอำนาจความรักในพระรัตนตรัย เทอญ
จะ เห็นได้ว่า ศิลาจารึกหลักนี้ ควรเป็นศิลาจารึกประจำอยู่ที่วัดเชตะวัน หรือเชวนาลัย และต่อมาได้เป็นวัดอันสำคัญยิ่งที่เจ้าสววาธิสิทิ ทรงผนวชชั่วคราว จึงได้ชื่อว่า เชตวนาราม เมื่อสภาพของบ้านเมืองได้ผันแปรไปแล้ว บริเวณเชตวนารามนี้ คงมีนามเพียงว่า วัดดอน ซึ่งเรียกขานกันไปตามหมู่บ้านทีได้ไปตั้งรกรากอยู่อาศัยในรุ่นหลัง ๆ ห่างไกลจากยุคสมัยของหริภุญไชยโบราณหลายร้อยปี ไม่มีผู้ใดได้ล่วงรู้ทราบถึงนามเดิมของสถานที่นั้นแล้ว จนกระทั่งได้มีการศึกษารวบรวมศิลาจารึกหลักนี้ไว้ เพรากรได้มาของศิลาจารึกหลักนี้ บ่งว่าได้มาจากวัดดอน บางทีก็เรียกว่าวัดดอนแก้ว หรือวัดแก้วดอนชัย ก็เรียกสถานที่นั้นยู่ทางบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง บัดนี้เป้ฯตำบลเวียงยอง ไม่หลงเหลือร่องรอยหลักฐานอันใดไว้ให้เห็นได้แล้ว เคยรับทราบต่อมาเพียงว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 7 แห่งพระบรมราชจักกรีวงศ์ ได้เสด็จหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีผู้น้อมเกล้าถวายพระแสงดาบโบราณ ซึ่งขุดพบในเจดีย์ที่วัดดอน และยังมีโบราณวัตถุอีกหลายสิ่ง กล่าวกันว่าพบในเจดีย์ที่วัดนี้ราว พ.ศ. 2469
ในรัชสมัยพระเจ้าสววาธิสิทธินั้นคติพุทธศษสนาแห่งแคว้นหริภุญไชย ก่อนล้านนาเจริญรุ่งเรืองยิ่ง เพียงวัดเชตวนารามแห่งเดียวมีพระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาถึง 80 รูป และสามเณรอีก 102 องค์ จำนวนเต็มของสามเณรนั้น คงแค่ 100 แต่ต้องนับเพิ่มพระโอรสของพระเจ้าสววาธิสิทธิไปอีก 2 องค์ ซึ่ง ผนวชพร้อมกับพระบิดา ดังอ้างพระนามไว้ในศิลาจารึกคือมหานามะ และกัจจายณะ อันควรเป็นฉายานามที่อุปัชฌาย์ตั้งให้ในคราวผนวชเป็นสามเณร เพราะเมื่อพระบิดายังทรงพระชนมายุเพียง 31 พรรษา หรือ 32 พรรษา พระโอรสทั้งสองพระองค์ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์เป็นแน่ จึง เห็นชัดว่าควรบรรพชาเป็นสามเณรเท่านั้น จำนวนสามเณรซึ่งศิลาจารึกบันทึกไว้ 102 องค์ ดูเหมือนจะรับรองสามเณรพระโอรสพระเจ้าสววาธิสิทธิ ทั้ง 2 พระองค์ ที่ออกทรงผนวชอีกประการหนึ่งด้วย
จำคำแปลภาษาบาลีในศิลาจารึกดังกล่าว ข้อที่ 1 ได้อ้างถึงสถานที่ เชตวนาลัย ในฐานะของความที่ว่า เวียง ซึ่งคำว่า เวียง นั้น ภาษาไทยนำมาใช้อยู่ 2 ความหมาย คือ ในฐานะที่เป็น เมือง และในฐานะที่เป็น วัง แต่คำว่า เวียง อันชื่อว่า เชตวนาลัย ในศิลาจารึกนี้ควรบ่งถึงสถานที่อยู่ของกษัตริย์ ควรจะยุติว่า เวียงเชตวนาลัย ในกรณีนี้สามารถวิเคราะห์ได้สืบไปว่า บริเวณวังของพระเจ้าสววาธิสิทธิ ผู้เป็นเจ้าของศิลาจารึกดังกล่าวนั้น ควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นวัดเชตวนาลัยก็ได้ มีลักษณะเท่ากับเป็นวัดในวัง หรือเป็นหอพระของกษัตรยิ์หริภุญไชยโบราณ ต่อมาเมื่อพระองค์ทรงสร้างเสนาสนะ มีกุฎิ ศาลา วิหาร แล้ว ก็อาจทรงพระราชูทิศให้เป็นวัดในนามว่า เชตวนาราม หรืออาจเรียกตามที่เข้าใจในบัดนี้ว่า วัดพระเชตุพนฯ ก็เห็นจะไม่ผิดนัก

ท่านผู้วิเคราะห์ศิลาจารึกลำพูนหลักนี้ ในส่วนที่เป็นภาษาบาลี มีความเห็นว่า

1. ผู้ประพันธ์ ตามความคิดเห็นของผู้บรรยาย ขอยืนยันว่า พระเจ้าสรรพาธิสิทธิทรงประพันธ์ด้วยพระองค์เอง เพราะทรงเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎกมาก พระองค์สามารถ ทรงพระนิพนธ์บทวรรณคดีนี้ได้ จึงยุติว่า บทวรรณคดีนี้เป้นพระราชนพันธ์ของพระเจ้าสรรพาธิสิทธิ ราว พ.ศ. 1636 นับถึงปีนี้ (พ.ศ. 2523) 883 ปี จึงเห็นว่าภาษาบาลีได้แพร่หลายเข้ามาในผืนแผ่นดินนี้อย่างกว้างขวาง เป็นหลักฐานบ่งบอกถึงคติพุทธศาสนา ซึ่งใช้ภาษาบาลีเป็นหลัก แม้พระมหากษัตริย์ก็ทรงศึกษาถึงขั้นแตกฉาน ทรงรจนาพันธะคือ วรรณคดีบาลีได้อย่างเชี่ยวชาญ
2. พระเจ้าสรรพาธิสิทธิ ทรงประกาศพระราชกุศลที่ทรงบำเพ็ญในส่วนที่เป็นถาวรวัตถุเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาคือ
เชตวนาลัย ทรงสร้างในตอนที่ทรงพระชนม์ 26 พรรษา อาจะเป็นปีแรกแห่งพระชนายุทีได้เสวยราชสมบัติในหริภุญไชยนครนั้นก็ได้ ความในบทพระราชนิพนธ์ที่ 1 บ่งความไว้เช่นนั้น บทพรราชนิพนธ์ บาทที่ 4 มยา กตญเชตวนาลยลล (หน้า198) ได้แสดงถึงพระปรีชาสามารถในอลังการศาสตร์ ทรงนำศัพท์มาผูกเป็นบทสนธิ และมีกลบทยมกปลายบาทถ้าแยกบทออกจะเป็น(โลภ- แต่ในที่นี้ต้องแปลความหมายแรก คือ เรือน แต่เพื่อให้เหมาะสมเห็นควรต้องแปลว่า เวียง-หรือ- เวียงวัง- อันหมายถึงที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์) มีข้อที่น่าสงสัยอยู่ที่ มีอุโบสถาคารงามประเสริฐ ซึ่งหมายความว่าในพระราชฐานนั้นมีโรงอุโบสถด้วยหรือ เรื่องนี้หากคิดถึงขัตยประเพณีที่มีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา พระมหากษัตริย์ที่มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ทรงปฏิบัติเช่นนั้น คือสร้างวังแล้วสร้างวัดในวัง ทำนองเป็นหอพระของคหบดี ห้องพระของผู้มีฐานะ และหิ้งพระของผู้เป็นสามัญ นี้เป็นคติของพระพุทธศาสนิกชน คตินี้จึงน่าสืบเนื่องมาแต่โบราณกาลดังนั้นการสร้างวัดในวังของพระมหากษัตริย์ก็เท่ากับเป็นหอพระประจำวัง และนอกจากเป็นหอพระประจำวังแล้ว ยังเป็นสถานที่ประกอบการพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเป็นต้นว่า พระราชพิธีผนวชของพระมหากษัตริย์ หรือของพระราชโอรสพระราชนัดดา เป็นต้น
นั้นจึงนิยมสร้างเป็น อุโบสถาคาร คือมีแต่อุโบสถ อันมีสืบมาตามพระวินัยบัญญัติหรือเป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมได้ แต่ไม่มีพระสงฆ์ประจำพรรษาอยู่ พึงเห็นเช่นวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังบัดนี้ ก็ควรเป็น เรื่องอันเนื่องในพระราชประเพณีแห่งองค์พระมหากษัตริย์สืบมา
3. เมื่อพระเจ้าสรรพิสิทธิทรงมีพระชนม์ 31 พรรษา อยู่ในราชสมบัติได้ 5 พรรษา ทรงสร้างอาวาสใน เชตวนาลัย นั้นเรื่องทรงสร้างอาวาสนี้ปรากฏในคาถาที่ 2 คือตั้งแต่บาทที่ 5 ถึง บาทที่ 8 การสร้างอาวาสนี้เข้าใจว่า ทรงยกพระเชตวนาลัยให้เป็น เชตวนาราม และอาจมีเหตุให้ต้องทรงย้ายพระราชวังอย่างใดอย่างหนึ่ง พระเจ้าสรรพาธิสิทธิคงจะทรงพระราชวินิจฉัยถึงชัยภูมิอันควรแก่การตั้งราชธานี จึงทรงย้ายพระราชวังไปสู่ชัยภูมิ ตามที่อาจจะคาดคิดเห็น ด้วยภูมิปัญญาของผู้วิเคราะห์ในที่นี้ ภูมิประเทศย่านนั้นมีแม่น้ำกวงไหลผ่านวัดเชตวนาราม ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออก แสดงว่า แต่เดิมพระราชวังคงอยู่ฝังตะวันออกด้วยเช่นกัน มีแม่น้ำอยู่ข้างหลัง คือด้านทิศตะวันตก คงไม่เหมระที่จะ เป็นศูนย์บางแห่งราชธานี จึงทรงย้ายพระราชวังมาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำกวงที่เหมาะกว่า เพราะมีแนวป้องกันตามธรรมชาติอยู่ด้านหน้า ทั้งนี้ก็น่าจะเป็นสาเหตุได้ประการหนึ่งในการย้าวพระราชวังแล้วที่พระราชวังเดิมก็ทรงยกให้เป็นวัด
4. ทรงสร้างพระไตรปิฎกเป็นอันมาก เรื่องนี้คงให้ บัณฑิตจำลอง มิได้ทรงเขียนด้วยพระองค์ แต่อาจจะทรงบ้างตามที่พระราชโอกาส การจำลองพระไตรปิฎกในครั้งนั้นคงไม่จารึกลงในแผ่นศิลา จะเป็นการจารลงในลาน ควรถือเป็นเค้ามูลได้ว่ามีการจารพระไตรปิฎกลงในลานแล้ว น่าจะก่อนสมัยพระเจ้าสรรพาธิสิทธิ
5. ทรงแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ในที่สุดแห่งบทพระราชนิพนธ์นั้นควรเป็นธรรมเนียมของการแผ่เมตตาที่ปรากฏอยู่ในคติพุทธศาสนาประจำผืนแผ่นดินไทยมาตราบเท่าทุกวันนี้
เกี่ยวกับเรื่องเมืองลำพูนโบราณ หรือที่เรียกว่าหริภุญไชยนครนั้น มีประวัติตำนานปรากฏชัดเจนแล้วในเรื่อง จามเทวีวงศ์ อันท่านพระโพธิรังษี พระเถระล้านนา ได้เรียบเรียงขึ้นไว้เป็นภาษาบาลี ในส่วนลำดับเนื้อหาของเรื่องมีความชัดเจนยิ่ง ไม่มีความสับสนแต่อย่างใด เว้นไว้แต่ว่า การเริ่มต้นในราวพุทธศตวรรษที่ 13 ยังไมสามารถจะพบหลักฐานรับรองได้ในทุกวันนี้ มีหลักฐานทางโบราณคดีที่กล่าวมานั้นรับรองได้เพียงแค่พุทธศตวรรษที่ 17 เท่านั้น
แต่เป็นที่น่าสังเกตอยู่มากทีเดียวว่า บรรดาตำนานประวัติทั้งสามแห่งคือ เมืองโยนกนคร เมืองหิรัญนครเงินยาง และเมืองหริภุญชัย หากลองวิเคราะห์ตำนานประวัติต่าง ๆ ให้ถ้วนถี่แล้วจะพบว่าทั้งสามเมืองนั้น เริ่มต้นในระยะกาลเวลาใกล้เคียงกันมาก คือในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 -13
ในเมื่อเมืองโยนกนครได้ล่มถล่มลงไปทั้งเมืองดังเอกสารโบราณที่เป้ฯตำนานประวัติบันทึกความทรงจำสืบทอดต่อมายันยันอย่างนั้น ประมาณได้ว่าราวพุทธศตวรรษที่ 16 หรือ หากจะยึดถือการเวลาของตำนานดังกล่าว ตกราว พ.ศ. 1551 กลุ่มชนที่หลงเหลือจากภัยพิบัติครั้งนั้นได้จัดตั้งหัวหน้าหรือประมุขของตนขึ้นใหม่ เพื่อควบคุมความเป็นอยู่แห่งชนหมู่มาก จึงพร้อมใจกันยกขุนบัง ขึ้นเป็นประมุขคนแรก ตั้งเมืองอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่งทางตอนเหนือของปากแม่น้ำกก ซึ่งเรียกว่า ตำบลสบกก บัดนี้ เมืองนี้อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงทีเดียว แต่ดั้งเดิมในระยะพุทธศตวรรษที่ 16 ให้นามเมืองว่า เวียงปรึกษา นัยว่าเป็นสถานที่ชุมชนชาวโยนกเดิมที่เหลืออยู่พากันมาประชุมในบริเวณนี้ เพื่อคัดเลือกผู้เป็นประมุขของตน ได้แก่ ขุนลัง ตำนานประวัติบันทึกเรื่องช่วงนี้ไว้ว่าเป็นระยะ ขุนแต่งเมือง หมายความว่า ผู้ที่ได้ตำแหน่งเป็น ขุนเมือง ในคราวนั้นหาใช่เป็นกษัตริย์ที่สืบสายราชวงศ์ขึ้นครองเมืองไม่ หากแต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป้ฯขุนเมืองโดยประชุมชนยินยอมพร้อมใจแต่งตั้ง ดังนั้นจึงเรียกว่า ขุนแต่งเมือง คือขุนเมืองที่ได้รับการแต่งตั้งจากประชาชนนั่นเอง หากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เป้ฯความจริงดังตำนานประวัติบันทึกไว้ ก็อาจบ่งได้ว่ามีระบบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีขึ้นแล้วในประเทศไทยของเรา อาการที่เรียกว่า ขุนแต่งเมืองนี้ สามารถอยู่ในตำแหน่งขุนเมืองได้ชั่วชีวิตของตน หากสิ้นชีวิตไปแล้วประชาชน จะประชุมแต่งตั้ง ขุนเมือง ขึ้นใหม่ต่อๆ กันไปอย่างนี้ มีระยะเวลาที่เรียกว่า ขุนแต่งเมืองอยู่ 93 ปี มีขุนแต่งเมือง 15 ปี หากประมาณเวลาแต่ พ.ศ. 1551 เป็นต้นมา จะสิ้นสุดระยะกาลขุนแต่งเมืองใน พงศ. 1644 ฉะนี้ บรรดาร่องรอยของ เวียงปรึกษา ดังกล่าวบัดนี้ไม่พบเห็นหลักฐานทางศิลปะและโบราณคดีอันใดจะสามารถบอกยืนยันได้ ให้เก่าแก่ขึ้นไปถึงพุทธศตวรรษที่ 17 16 ได้เลย จะพบเห็นแต่ศิลปกรรมสมัยล้านนา ร่วมกาลเวลาเดียวกับพุทะศตวรรษที่ 20 ลงมาแล้วทั้งสิ้น และนามเมืองที่รู้จักกันในบัดนี้ก็เรียกว่า เชียงแสนน้อย อยู่ทางตอนใต้เมืองเชียงแสนที่เป็นอำเภอเชียงแสนลงไปราว 9 กิโลเมตร ยังพบเห็นแนวดินคูเมือง และกำแพงดินเป็นวงปราการปรากฏอยู่ในระยะวงกำแพงเมืองราว 1 กิโลเมตร เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งในการตัดเส้นถนนสายเชียงแสนเชียงของ ไม่คำนึงถึงร่องรอยเมืองโบราณนี้ไว้ด้วย จึงตัดถนนผ่านเมืองนี้ไปทั้งเมือง ควรถือว่าเป็นความมักง่าย เห็นแก่ความสะดวกแห่งความเจริญเป็นที่ตั้ง นำความเจริญนั้นไปทำลายร่องรอยโบราณประวัติที่มีอยู่อย่างช่วยไม่ได้ เพราการกระทำเช่นนี้ก็มีมาก่อนแล้ว ได้แก่การตัดเส้นถนนพหลโยธินผ่าผ่านเมืองโบราณในเขตอำเภอแม่สายเข้าไปทั้งเมือง ซึ่งเมืองนี้มั่นใจยิ่งว่าเป็นเมืองโบราณของบรรพชนพ่อขุนมังรายก่อนที่จะย้ายเมืองมาสร้างเมืองเชียงราย พ.ศ. 1805 ที่เรียกว่าเมืองหิรัญนคร และเมืองเงินยาง ทุกวันนี้เหลือแต่แนวกำแพงดินขนาดใหญ่และคูเมืองที่แห้งขอด พุ่งออกมาจากทางดอยตุงวนวกออกไปหาลำน้ำแม่สาย ในเขตที่เรียกว่าโป่งแดงหรือเหมืองแดง และมีความพยายามคราดไถ เกลื่อนแนวคันดินนี้ให้ทลายลง เพื่อเป็นพื้นที่ราบปลูกพืชไร่อยู่ตลอดเวลา ขณะนี้จะสูญหายไปหมดแล้วหรือยังไม่อาจจะทราบได้
เมื่อเมืองโยนกนครได้สิ้นสุดลงไปแล้ว ดินแดนทางลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนสุดของประเทศไทยฝั่งตะวันตกทั้งหมดและบางส่วนที่ลึกเข้ามาในแนวแม่น้ำกก ไปถึงน้ำแม่สายบริเวณนี้ควรตกอยู่ในความครอบครองของเชื้อสายกษัตริย์บรรพชนของพ่อขุนมังรายและในที่สุดก็ตกอยู่ในอำนาจของพ่อขุนมังรายอย่างเด็ดขาด เมื่อพระองค์ได้ทรงราชย์สืบสายตระกูลต่อจากพระบิดาหรือพระเจ้าลาวเมง ของพระองค์ ณ เมืองเงินยาง นั้น พระองค์ครองราชย์ต่อมาถึง พ.ศ. 1805 จึงย้ายเมืองมาอยู่ที่เชียงรายทางแถบลำน้ำแม่กกที่เป้ฯจังหวัดเชียงรายบัดนี้
แต่ยังมีดินแดนอีกส่วนหนึ่ง ปัจจุบันนี้เป็นจังหวัดพะเยา เคยเป็นเมืองโบราณเรียกว่า เมืองพะเยา สายตระกูลผู้ก่อตั้งเมืองนี้ จากตำนานประวัติโบราณรับรองว่า เป็นเชื้อสายร่วมบรรพชนเดียวกันกับพ่อขุนมังราย ได้แยกตัวออกไปสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ปกครองอีกส่วนหนึ่งอยู่ต่างหาก สภาพเมืองพะเยาโบราณก่อนสมัยพ่อขุนมังรายนั้น มีฐานะเทียบได้กับ อาณาจักรหนึ่งทีเดียว เพราะนับแต่ขุนจอมภพปฐมกษัตริย์ที่กอตั้งเมืองพะเยาขึ้นแล้วล่วงมาถึงรัชกาลขุนเจื๋องธรรมาธิราช หรือที่เรียกว่า พระยาเจื๋อง พระโอรสขุนจอมธรรมนั่นเอง สมัยขุนเจื๋องครองเมืองพะเยานี้ อาณาเขตขยายออกไปกว้างขวางยิ่ง ครอบคลุมดินแดนสองฝั่งโขงและถึงเวียดนามเหนือ แถบเมืองบ๊ากแกวก็ได้ แต่ตำนานประวัติเรียกตามสะดวกในภาษาไทยว่า เมืองแก้วประกัน อาจครอบงำไปถึงอาณาจักรจามโบราณในระยะนั้นด้วยก็ได้ ทั้งนี้ถ้าเราจักพิจารณาถึงหลักฐานแวดล้อมจากแหล่งอารยธรรมส่วนอื่นเข้ามาประกับกาลเวลา ซึ่งตำนานประวัติโบราณบันทึกไว้ สิ่งนั้น ควรได้แก่วัฒนธรรมกัมพูชา ที่ประสาทหินนครวัด ตรงระเบียงภาพด้านทิศใต้ มีกลุ่มกระบวนทัพเข้าพยุหยาตราเจ้าของพระเจ้าสิริยวรมันที่ 2 อยู่กลุ่มหนึ่ง จารึกใต้ภาพว่า
style="mso-tab-count: 1"> อ่าน ว่า สยำกุก ออกเสียงตามภาษาไทยว่า สยามกุก ถ้าเป็นเสียงอ่านอย่างเขมรเป็น เสียมกุก จิตร ภูมิศักดิ์ วิเคราะห์ว่า หมายถึงกลุ่มชนชาวสยามคือคนไย แถบลุ่มน้ำกก นับว่าเป็นท่านแรกที่กล้ายืนยันเช่นนั้น แม้ในทุกวันนี้ก็ยังไม่พบเห็นท่านผู้รู้ท่านใดกล้ารับรองหรือคัดค้านออกมาให้ชัดเจนได้ ในที่นี้ขอรับว่าเป็นข้อสันนิษฐานที่ใกล้เคียงต่อความเป็นจริง และตรงไปตรงมาอย่างที่ไม่เคยเห็นนักปราชญ์ท่านใดกระทำมาก่อนเลย กระนั้นจิตร ภูมิศักดิ์ ก็ยังไขว้เขวต่อความสับสนของตำนานประวัติไปบ้าง เพราะท่านมิได้อ่านตำนานประวัตินั้นในสถานที่หรือภูมิสถานของเรื่อง ไทยแถบลุ่มน้ำกก คือ ไทยโยนกนคร และไทยเวียงปรึกษา ในระหว่าง พ.ศ. 1551 พ.ศ. 1700 นั้นนับเป็นพุทธศตวรรษที่ 17
อันปราสาทหินนครวัด ได้สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 แห่งกัมพูชา จึงถือได้ว่าร่วมสมัยขุนแต่งเมือง เวียงปรึกษาแห่งลุ่มน้ำกกได้ หากวิเคราะห์ตำนานประวัติเกี่ยวกับเมืองพะเยาแล้ว เราอาจเห็นแนวทางของเรื่อง และกาลเวลาที่ลงตัวอยู่ในรอบพุทธศตวรรษที่ 17 ด้วยกันอีก จึงควรสันนิษฐานได้ว่า ขุนเจื๋อง หรือพระยาเจื๋องแห่งเมืองพะเยา น่าจะมีสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 แห่งกัมพูชาด้วยก็ได้ เพราะในระยะสมัยของขุนเจื๋องนั้นได้ไปคอรงเมืองแก้วประกัน และเมืองหลวงพระบางทางฝั่งโขงตะวันออกอยู่เป็นระยะ ๆ ดินแดนดังกล่าวน่าจะติดต่อกับอาณาเตของกัมพูชาได้ และการมีสัมพันธไมตรีต่อกันนั้น ก็คงจะร่วมคิดรวมกำลังกันกำจัดอาณาจักรจำปา หรืออาณาจักรพวกจามนั่นเอง จึงได้พบภาพสลักระบวนทัพ สยามกุก ที่ปราสาทหินนครวัดอยู่ฉะนี้
จากเหตุผลที่แสดงมาล้วนรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากตำนานโบรารณสรุปไว้ให้เห็นเป็นแนวทางการค้นคว้าหาข้อยุติสืบต่อไป ขณะนี้ท่ามกลางข้อมูลแวดล้อมทางโบราณคดี อันมีหลักฐานจากศิลาจารึก ศิลปะโบราณวัตถุ และโบราณสถาน ประกอบกับผลที่ได้จากากรสำรวจทางโบราณคดี และการขุดค้นทางโบราณคดีเป็นที่สุดแล้ว หลักฐานอันเนื่องในข้อมูลทางโบราณคดีนั้น ๆ จำกัดขอบเขตอยู่ในตัวแล้วยากที่จะแสดงความคิดเห็นออกไปนอกเหนือหลักฐานที่พบได้ เท่าที่ชี้แจงมาแล้ว ก็ยังเกินขอบเขตแห่งหลักฐานทางโบราณคดีจะรับรองได้อยู่มากทีเดียวแต่เห็นว่ายัดนี้ท่านผู้รู้มาก ท่านได้ค้นคว้าศึกษาเรื่องทำนองเดียวกันนี้ ไปตามแนวถนัดในวิชาการของท่านอยู่แล้ว เป็นผลงานที่น่าจะประมวลไว้เพื่อการศึกษาหาข้อยุติในทางประวัติศาสตร์สืบไปในวันข้างหน้าเป็นอย่างสูง
วรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ทางภาคอีสาน ได้แก่ ท้าวฮุ่งเจื๋องฯ เชื่อกันว่าเป็นบทประพันธ์โบราณแห่งดินแดนสองฝั่งโขงแพร่หลายอยู่ในหมู่บ้าน แถบหลวงพระบางเวียงจันทน์ลาภคอีกสานของไทย มักพบเห็นวรรณกรรมเรื่องนี้ประจำอยู่ตามหอไตรของวัดอันเก่าแก่ทางภาคอีสานเสมอมา แต่ปัจจุบันนี้ยากที่จะมีผู้ใดอ่านรู้เรื่องเข้าใจชัดเจนได้ เพราะภาษาที่รจนาไว้นั้นเป็นภาษาถิ่นแถบสองฝั่งโขงอันเก่าแก่ พ้นสมัยที่จะเข้าใจกันได้ดี ในปัจจุบันนี้เนื่องมาแต่กาลเวลาผ่านล่วงมาหลายร้อยปี ความแทรกซ้อนในวัฒนธรรมทางภาษาได้แปรผันไปในหมู่ชนแถบนั้น นี่ก็เป็นสาเหตุประการหนึ่งของการศึกษาวรรณกรรมโบราณของเราอยู่มากเพราะยุคสมัย และสังคมมีบทบาทแบบใหม่เข้าไปกระตุ้นเตือนสำนักของหมู่ชน และยากที่จะให้หมู่ชนผู้ใต้สำนึกนั้นยึดถือแบบประเพณีโบราณนั้นอยู่ได้อีกต่อไป อาศัยเหตุผลเช่นนี้ ภาษาในวรรณกรรมโบราณเรื่อง ท้าวฮุ่งเจื๋อง ดังกล่าวที่ยังมีอยู่ก็คงอยู่ในสภาพลางเลือนอย่างยิ่ง และมิหนำซ้ำท่านผู้รจนายังได้ผูกบทประพันธ์ของท่านเป็น กลอน หรือ กาพย์ ขึ้นไว้อีกด้วย ภาษาแห่งกลอนกาพย์ เป็นภาษาชั้นสูงขั้นวิจิตรยิ่ง จึงเพิ่มความยากลำบากในการศึกษาของพวกเราสมัยนี้เป็นทวีคูณ หลายเท่าตัวนัก
แต่เรามีหลักฐาน ตำนานเมืองพะเยาเกี่ยวข้องกับขุนเจื๋อง อันเป็นตำนานโบราณประวัติของทางาภคเหนือหรือบ้านนาอยู่ด้วย จึงทำให้ได้ฉุกใจคิดได้ว่า เรื่องขุนเจื๋อง กษัตริย์พะเยาในล้านนา กับเรื่อง ท้าวฮุ่งเจื๋อง วรรณกรรมแห่งล้านช้าง และภาคอีสานนั้น อาจจะหมายถึงวรรณกรรมของบุคคลโบราณคนเดียวกันก็เป็นได้ และทางฝ่ายอีสานนั้นนำไปรจนาเป็นกลอยกาพย์ขั้นถึง 5000 บท นับว่าเป็นมหากาพย์อันยิ่งใหญ่พอจะทัดเทียมกับเรื่องมหาภารตยุทธของอินเดีย ซึ่งควรจะน่าภาคภูมิใจที่ประเทศไทยเราได้มีมหากาพย์ท้าวฮุ่งเจื๋อง เป็นสมบัติทางวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ของชาติ
ปัญหาที่ควรพิจารณาคงได้แก่หลักฐานที่มาของเรื่องว่า ขุนเจื๋อง หรือ ท้าวฮุ่งเจื๋อง นั้นจะบังเกิดขึ้นในบ้านนา หรือล้านช้าง การพิจารณานี้ทำความยากลำบากพอสมควรทีเดียว ถ้าเราได้ติดตามตำนานโบราณประวัติทางภาคเหนือหรือบ้านนามาโดยตลอด ขุนเจื๋องก็ควรจะเป้ฯเรื่องที่บังเกิดขึ้นในดินแดนล้านนา แถบจังหวัดพะเยา และขุนเจื๋องนั้นได้เป็นบรรพชนของพระยางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ในรอบพุทธศตวรรษที่ 19 พระสหายร่วมสถาบันการศึกษา ณ เขาสมอคอน กรุงละโว้ (ลพบุรี) เดียวกันกับพระยาร่วงหรือพ่อขุนรามคำแหงแห่งบางยางหรือสุโขทัยและเป็นพระสหายกับพระยามังรายแห่งล้านนาอีกด้วย ความแม่นยำหรือรายละเอียดของตำนานประวัติโบราณในบ้านาดูจะมั่นคงมากกว่าวรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่งจ่องในอีสานหรือล้านช้าง และในวรรณกรรมนั้นยังได้อ้างถึง เมืองเงินยาง อีกด้วย ซึ่งเมืองเงินยางนั้นไม่เคยอยู่ในบริเวณภูมิศาสตร์ของภาคอีสานหรือล้านช้างได้เลย เพราะเมืองเงินยางนั้น ความหนักแน่ของเรื่องอยู่ทีในตำนานประวัติโบราณของภาคเหนือหรือล้านนาเมืองนี้พระเจ้าลาวเคียงกษัตริย์สายตระกูลปู่เจ้าลาวจก เป็นผู้ทรงสร้างและจัดเป็นสายบรรพชนของพระยามังราย และพระยางำเมืองอีกด้วยอาศัยข้อมูลจากตำนานเมืองหิรัญนครเงินยางเชียงแสน เป็นแนววิเคราะห์เรื่องขุนเจื๋อง และท้าวฮุ่งจ่อง จึงควรจะเป็นเรื่องบุคคลประวัติในบ้านนาก่อนที่จะแพรหลายเข้าไปยังภาคอีกสานหรือล้านช้าง
ถ้าพิจารณารายละเอียดของขุนเจื๋องจำตำนานประวัติโบราณล้านนาแล้ว ช่วงชีวิตของพระองค์ ได้ครอบครองดินแดนสองฝั่งโขงอีกเช่นกัน กล่าวคือพระองค์ครองล้านช้างดินแดนฝั่งโขงตะวันออกและเมืองแก้วประกันที่จะหมายถึงดินแดนหือเมืองที่เรียกว่า บ๊ากแกว ในเวียดนามตอนเหนือต่อแดนอาณาจักรจัมปาโบราณของพวกจามฉะนี้
แต่ตำนานประวัติขุนเจื่องหรือที่เรียกว่า ขุนเจื่องฟ้าธรรมาธิราช เมืองพะเยานั้นแนวบันทึกตำนานประวัติของพระองค์ออกเป็นเรื่องซ้ำซ้อนกันในเนื้อหาของพระเจ้าพรหมพระโอรสพระเจ้าพังโคราชแห่งเมืองโยนกนคร เฉพาะในตอนที่เกี่ยวข้องกับช้างเผือกคำของพระเจ้าพรหม และช้างเผือพางคำของขุนเจื่อง อาจเป็นได้ว่าผู้แต่งผู้จาร หรือผู้คิดจำลองเรื่องจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ต่างกันในเรื่องกาลเวลา บุคคลและสถานที่ ก็เป็นได้
ลักษณะของการจัดเก็บใบลานหรือคัมภีร์ใบลาน ต่าง ๆ ทางพุทธศาสนา ตามวัดหรืออาราม แต่ครั้งเก่าก่อนนั้น อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความสับสนของเรื่องทำนองนี้มีอยู่ในตำนานประวัติโบราณด้วยก็เป็นได้
สาเหตุที่มาของความสับสนเกี่ยวกับผูกใบลาน อันเป็นเอกสารโบราณดังกล่าว เราผู้ศึกษาควรมีความเข้าใจไว้บ้างก็จะเป็นอุปกรณ์ต่อการวิเคราะห์หรือพิจารณา เอกสารโบราณตำนานประวัติ ทำนองได้บ้างไม่มากก็น้อย
การที่คัมภีร์ใบลานที่จดจารเรื่องต่าง ๆ นั้น เรียกว่า ผูก เพราะมี สายสนอง คือเส้นเชือกร้อยรวมใบลานแต่ละใบเข้าไว้ อาการซึ่งร้อยแล้วผูกด้วยเชือกเป็นห่วงกลมของ ใบลานานั่นแหล่ะจึง เป็นที่มาแห่งลักษณะนามของคำว่า ผูก คัมภีร์ใบลานแต่ละเรื่องนั้นหาได้จบลงในผูกเดียวไม่ ดังนั้นจำนวนผูกจึงต้องมีมากตามความยาวของเรื่องบางเรื่องถึง 20 ผูก จึงจบก็มี และเมื่อจบแล้วจะรวมผูกทั้งหมดไว้ด้วยกัน มีผ้าห่อคัมภีร์เรื่องนั้นทั้งหมดแล้วมัดเก็บไว้เป็นเรื่อง ๆ ไป จึงเรียกว่า มัด เพราะมีเชือกยาวอีกเส้นหนึ่ง มัดอยู่นอกผ้าห่อคัมภีร์รวมผูกไว้ด้วยไม้ประกับคัมภีร์อยู่ในห่อนั้นอีกทีหนึ่ง นอกจากห่อผ้าในบริเวณเชือกมัดคัมภีร์จะมีป้ายฉลากบอกชื่อเรื่องและจำนวนผูกไว้ให้รู้ภายนอก ฉะนี้
คัมภีร์แต่ละมัดจะจัดเก็บรวมลงหีบคัมภีร์ไว้ หรือจัดเก็บไว้ในหอไตรเท่ากับห้องสมุดประจำวัด ตามสะดวกแก่การจัดเก็บ หากทอดทิ้งไว้นานไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควรคัมภีร์ดังกล่าวก็จะถูกทำลายไปตามยถากรรมเป้ฯต้นว่า หนู ปลวก แมลงสาบ เป็นอาทิ เชื่อมัดคัมภีร์ขาด ผ้าห่อคัมภีร์เปื่อยยุ่ยผุขาดออกมา สายสนองที่ร้อยเป็นผูกใบลานแต่ละผูกไว้ก็ขาดออกจากกัน ใบลานก็จะแตกกระจัดกระจาย ต่อมาเมื่อจะรวบรวมเก็บจัดเป็นผูกขึ้นใหม่ ก็ต้องมาพิจารณาในลานแต่ละใบเยงซ้อนเข้าไปใหม่ ถ้าดูแต่เลขใบลานส่วนเดียว ก็จัดเรียงเข้าที่ได้ง่าย ลานแต่ละใบในแต่ละผูกนั้นเรียกตามตัวเลขหรือว่าตามก็ได้เรียกว่า อังกา เป็นต้นว่าใบลานผูกหนึ่งจะมีเลขอังกา ตั้งแต่ 1 - 24 หรือไม่ก็ กะ ขะ คะ ฆะ ง่ะ ฯลฯ เป็นอักษรเรียงกันไปตามพยัญชนะวรรคทางภาษาบาลีจนครบ 24 ใบลาน ทุกผูกใบลานจะเหมือนกับในจำนวน อังกา ดังนี้เสมอ หากคัมภีร์จัดเก็บไว้ปนกันมีมากเรื่องแล้วแตกกระจายเป็นใบ ๆ ไปหมด การจัดเก็บโดยรีบด่วนก็ต้องมองแต่เพียง อังกาให้เข้าลำดับโดยไม่พิจารณาเรื่องที่อ่าน ความดังนี้ล่ะก็เป็นอันหวังได้ว่า ในผูกหนึ่ง ๆ ที่จัดเก็บเข้ามาใหม่ จะต้องปะปนกันไปคนละเรื่อง คนละคัมภีร์เข้ามาบ้างนะครับก็น้อย เรื่องตำนาน ประวัติบ้านนา จากผูกใบลานที่ถ่ายทอดกันออกมาเป้ฯอักษรปัจจุบัน ที่พิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือเล่ม ๆ บัดนี้เวลาอ่านเข้าแล้วดูสับสนวุ่นวายมาก เรื่องที่เก่าไปต่อปลาย เรื่องที่ใหม่มาอยู่ต้น บางทีขาดห้วงไปเฉย ๆ นั่นเป้ฯเพราะว่าการจัดเก็บใบลานพลัดผูกมาก็ได้
อีกอย่างหนึ่ง คติการเคารพคัมภีร์ใบลาน ที่ได้จารอักษรลงไปแล้ว นับถือว่าเป็นของขลังและศักดิ์สิทธิ์ จะหยิบจับนำพาไปด้วยอาการไม่สำรวจมิได้ทีเดียว คัมภีร์คือตำราและเท่ากับครูอาจารย์ ดังนั้น จะหยิบถือไปดุจหนังสือปัจจุบันไม่ได้ จะต้องแบกคัมภีร์ไปก่อนจะหยิบจังต้องไหว้กราบนี้เป็นประเพณีที่ถือกันอย่างสำคัญยิ่ง แม้ข้อความตามพระคัมภีร์นั้นจะแก้ไขต่อเดิมอันใดมิได้เลย เรียกว่า จะทำให้ผิดพระบาลีไป ดังนี้ การเก็บรักษาอย่างเคร่งครัดมากจะว่าไปในทางที่ดีก็ได้ เพราะเป็นการอนุรักษ์หลักฐานให้ถาวรยั่งยืนเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ผิดไปจากเดิมมิได้ ถ้าในส่วนตรงกันข้าม เมื่อแตกผูกพลัดผูกออกไปแล้วเก็บเข้ามาใหม่ แล้วก็ไม่กล้าแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือสอบทานกันให้ถูกต้องก็เป็นผลเสียได้ ทำให้เรื่องที่ได้พบเห็นอยู่ในทุกวันนี้สับสนจับต้นชนปลายกันไม่ถูก
เมื่อทำความเข้าใจในเรื่องของเอกสารคัมภีร์ใบลานมาดังนี้แล้ว พอจะมองเห็นเค้ามูลของเรื่องที่จะพึงยึดถือเป็นข้อวิเคราะห์วิจัย หรอวิจารณ์กันในบัดนี้ เราจะต้องมีกฎเกณฑ์และมีอุปกรณ์ในทางวิชาการเข้ามาเป้ฯองค์ประกอบการพิจารณาให้มาก ๆ เข้าไปเพื่อจะได้เฟ้นหาข้อเท็จจริงของเรื่องในทางที่ถูกที่ควรต่อการศึกษาของชิตให้เป็นไปได้อย่างถูกต้องหรือไก้เคียงต่อความเป็นจริงเท่าที่จะสามารถ
เรื่องที่ได้จากตำนานโบราณประวัติล้านนานั้นเท่าที่ลองกำหนดขอบเขตของกาลเวลาสถานที่และบุคคลไว้แล้ว อาจะชัดเจนลงได้ในรอบพุทธศตวรรษที่ 19 ซึงทั้ง 4 เรื่องใหญ่ ๆ ได้แก่
1. โยนกนคร
2. เมืองหริภุญไชย
3. เมืองหิรัญนคร เงินยาง และเชียงแสน
4. เมืองพะเยา

ทั้ง 4 เมือง ดังกล่าวนี้เรามีหลักฐานอันแน่ชัดที่นำมาสกัดขอบเขตของเรื่องได้ในหลักฐานของสุโขทัย โดยอาศัยศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงแห่งเมืองสุโขทัยมาเป็นข้อกำหนด
เมืองโยนกนคร เริ่มต้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าสิงหนวัติ ทรงสร้างขึ้น และความอยู่ในขอบเขตราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ถึงสมัยพระเจ้าพรหมกู้เอกราช ตั้งเมืองไชยปราการในรอบพุทธศตวรรษที่ 16 หรือราว พ.ศ. 1552 นั้นเพราเมืองโยนกนครได้ถล่มล่มลงไปทั้งเมือง
อนึ่ง ในรอบพุทธศตวรรษที่ 16 ได้เริ่มต้น เวียงปรึกษาไว้ด้วย เป็นระบบขุนแต่งเมือง สิบต่อเมืองโยนกนครนั้นอีก 93 ปี ก็สิ้นสุด
สถานที่อันควรกำหนดของเมืองทั้งหมดในขอบเขตเวลาพุทธศตวรรษที่ 12 16 นี้อยู่ทางดินแดนแถบแม่น้ำโขง ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย มาหาแม่น้ำกก ในเขตจังหวัดเชียงรายบัดนี้
เมืองหริภุญไชย เริ่มต้นตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ราว พ.ศ. 1206 เป็นสุดท้าย เสียเมืองให้แก่พระยามังราย ในรอบพุทธศตวรรษที่ 19 นั้น
สถานที่อยู่ในแถบบริเวณแม่น้ำปิง แม่น้ำวังตอนบนในเขตจังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปางบัดนี้นั่นเอง


เมืองหิรัญนครเงินยางและเชียงแสนเริ่มต้นตั้งแต่ พระเจ้าลาวจก ในรอบพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้น หรือราว พ.ศ. 1182 นั้น เป็นบรรพชนของพระยามังราย และพระยางำเมือง
ในรอบพุทธศตวรรษที่ 19 ต้องแยกออกเป็นสามเมืองด้วยกันคือ

1. เมืองหิรัญนคร เริ่มต้นในสมัยลาวจก สิ้นสุดในสมัยพระเจ้าลาวเคียง
2. เมืองเงินยาง เริ่มต้นจากพระเจ้าลาวเคียงลงมาถึง พระเจ้าลาวเมง พระบิดาพระยามัง
รายเป็นที่สุด แล้วพระยามังรายย้ายจากเมืองเงินยาง ไปตั้งเมืองเชียงรายอันเป็นจังหวัด
เขียงรายบัดนี้ ในปี พ.ศ. 1805
3. เมืองเชียงแสน ควรสร้างขึ้นในสมัยพระยามังราย ราว พ.ศ. 1831 พระราชนัดดา
พระเจ้าแสนภูเป็นผู้ทรงสร้าง

เมืองหิรัญนครและเมืองเงินยาง อาจอยู่ในบริเวณเดียวกัน คือแถบแม่น้ำแม่สายและดอยตุง ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บัดนี้เมืองเขียงแสนตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปัจจุบันอำเภอเขียงแสน จังหวัดเชียงราย เมืองพะเยา เริ่มต้นในสมัยขุนจอมธรรมแยกตัวออกมาจากเมืองเงินยาง ทรงสร้างเมืองพะเยาขึ้น มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อมา ที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดได้แก่ ขุนเจื๋อง และพระยางำเมืองเป็นที่สุด ปัจจุบันนี้ได้แก่บริเวณจังหวัดพะเยาในเขตอำเภอเมืองนั่นเอง




วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

กลอนเศร้าวันวาเลนไทน์
เห็นใครเขาได้กุหลาบช่อใหญ่-ใหญ่
แต่ทำใมฉันต้องเหงาใจอยู่ตรงนี้
เธอลืมนัดหรือว่าไปอยู่กับใครนะคนดี
ปล่อยให้ฉันคนนี้..ต้องเหงาใจ
ม่อิจฉาหรอกนะใครได้กุหลาบแดง
แต่ความรู้สึกเสียดแทงเธอเคยรู้จักใหม
ไม่อิจฉาใคร-ใครหรอกนะที่เขาเดินจูงมือกันผ่านไป
แต่อยากรู้ว่า..ฉันจะมีเธอไว้ทำไมถ้าไม่สนใจกัน