วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประวัติทางภาคใต้


ภาคใต้ประกอบด้วย 14 จังหวัด ไดแก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และ สุราษฎร์ธานี พื้นที่ภาคใต้ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยท้องทะเลอ่าวไทยทางตะวันออก และทะเล อันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม70.715.2 ตารางกิโลเมตร จังหวัดที่ใหญ่ที่สุดคือ สุราษฎร์ธานีและจังหวัดที่เล็กที่สุดคือ ภูเก็ต ทุกจังหวัดมีอาณาเขตติดต่อกับทะเลยกเว้น จังหวัดยะลา

ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วยพื้นที่ราบป่าไม้ ภูเขา หาดทราย น้ำตก ถ้ำ ทะเลสาบ และกลุ่มเกาะในท้องทะเลทั้งสองฝั่งมีเทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช โดยมีเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็น พรหมแดนกั้นระหว่างไทยกับมาเลเซียรวมความยาวของเทือกเขาภาคใตทั้งหมดกว่า 1.000 กิโลเมต มีแม่น้ำสายสำคญได้แก่แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำท่าทอง เป็นต้น ชายหาดทางฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูงขึ้น จึงมีที่ราบชายฝั่งทะเลเรียบกว้าง น้ำตื้น ส่วนทางด้านทะเลอันดามั น เป็นลักษณะของชายฝั่งทะเลยุบตัวลง มีที่ราบน้อยสภาพอากาศค่อนข้างร้อนเนื่องจากอิธิพลจึงทำให้มีฝนชุกตลอดทั้งปี

ตามหลักฐานทางโบราณคดี
ได้ระบุว่าแหลมมลายูเป็นศูนย์กลางของการค้ามานาน และมีเมืองที่เจริญรุ่งเรืองหลายแห่ง อาณาจักรศรีวิชัย มีราชธานีอยู่ในเกาะสุมาตรา เป็นอาณาจักรแรกที่มีเรื่องราวเกี่ยวพันกับดิแดนแหลมมลายู โดยมีประเทศราชบนแหลมมลายูหลายประเทศ พลเมืองนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งได้เผยแพร่มาในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13

สภาพทางภูมิศาสตร์
ทำให้ภาคใต้มีความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียอาคเนย์มาตลอด ประชากรทางภาคใต้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่กาแฟ มีสวนยางพารา มีสวนมะพร้าว สวนผลไม้ต่างๆๆ ทำการประมงน้ำลึก และประมงชายฝั่ง การทำนากุ้ง เลี้ยงหอยมุก ส่วนผลงานด้านหัตถกรรม ได้อก่ ผ้า เกาะยอ ผ้าเบติกเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น